การบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • พระครูปริยัติสุวัฒนาภรณ์ (ประภาส จนฺทวณฺโณ)

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ,การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ,สำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสานัก
ปฏิบัติธรรมจังหวัดระยอง 2) เพื่อศึกษาแนวคิดหลักพุทธธรรมที่นามาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อ
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสานักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยอง 3) เพื่อนาเสนอแนวทางการบริหาร
จัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสานักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยอง
ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) คือวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิง
ปริมาณ ผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสาร (Documentary research) และสัมภาษณ์บุคคลแบบเจาะลึก
กับผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (Key Informants) ซึ่งเป็นเจ้าสานักปฏิบัติธรรม พระวิปัสสนาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และผู้ปฏิบัติธรรม จานวน 17 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจดบันทึกและการบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดย
การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กับ
พระภิกษุและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จานวน 11 รูป/คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสนทนากลุ่มเฉพาะและรูปแบบเบื้องต้นสาหรับใช้ในการยืนยัน
ข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดประชุมกลุ่มย่อย บันทึกเสียง และจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดย
การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม
กลุ่มตัวอย่างจานวน 316 คน ดาเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสังคมศาสตร์

สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสานักปฏิบัติธรรมในจังหวัดระยองมี 3 รูปแบบ คือ
1) การแสดงธรรมเทศนา เป็นการแสดงธรรมอย่างมีแบบแผน ต้องมีการวางแผนการเทศน์โดย
พิจารณาจากประเภทของงาน ระยะเวลา เรื่องที่จะเทศน์ การจัดสถานที่ เป็นต้น 2) การบรรยาย
ธรรมหรือปาฐกถาธรรม เป็นการแสดงธรรมด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย พิธีรีตองน้อยกว่าการแสดงธรรม
เทศนา 3) การฝึกปฏิบัติธรรม มีวิธีการฝึกแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแนวทางของสานักปฏิบัติธรรม
2. แนวคิดหลักพุทธธรรมที่นา มาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาของสานักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยอง ใช้หลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ
จิตตะ วิมังสา โดยการนามาใช้ในการ 1) พัฒนาผู้นา อันได้แก่ เจ้าอาวาส และเจ้าสานักปฏิบัติธรรม
ในการบริหารจัดการสานักปฏิบัติธรรม 3 ด้าน คือ ด้านสถานที่ ด้านวิทยากร และ ด้านการบริหาร
จัดการ 2) พัฒนาผู้เผยแผ่ศาสนา อันได้แก่ พระวิปัสสนาจารย์และวิทยากร ในการเป็นผู้เผยแผ่
ศาสนา 3 รูปแบบ คือ การแสดงธรรมเทศนา การบรรยายธรรมหรือปาฐกถาธรรม และการฝึก
ปฏิบัติธรรม
3. แนวทางการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสานักปฏิบัติธรรม
จังหวัดระยอง ประกอบด้วย 3 แนวทาง และ 8 การพัฒนา คือ แนวทางที่หนึ่ง การบริหารจัดการ
ด้านสถานที่ โดยการจัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแต่ละรูปแบบ
แนวทางที่สอง การบริหารจัดการ ด้านวิทยากร โดยการเตรียมความพร้อมของวิทยากรให้
เหมาะสมกับการเผยแผ่ศาสนาแต่ละรูป แนวทางที่สาม การบริหารจัดการ ด้านการบริหารจัดการ
โดยการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับการเผยแผ่ศาสนาแต่ละรูปแบบ การพัฒนาที่หนึ่ง คือพัฒนา
เจ้าอาวาส หรือเจ้าสานักปฏิบัติธรรม ตามหลัก ฉันทะ การพัฒนาที่สอง คือพัฒนาเจ้าอาวาส หรือเจ้า
สานักปฏิบัติธรรม ตามหลัก วิริยะ การพัฒนาที่สาม คือพัฒนาเจ้าอาวาส หรือเจ้าสานักปฏิบัติธรรม
ตามหลักจิตตะ การพัฒนาที่สี่ คือพัฒนาเจ้าอาวาส หรือเจ้าสานักปฏิบัติธรรม ตามหลัก วิมังสา
เพื่อให้มีคุณลักษณะของการเป็นผู้บริหารที่ดี และ การพัฒนาที่ห้า คือพัฒนาพระวิปัสสนาจารย์
หรือ วิทยากร ตามหลัก ฉันทะ การพัฒนาที่หก คือพัฒนาพระวิปัสสนาจารย์ หรือ วิทยากร ตาม
หลัก วิริยะ การพัฒนาที่เจ็ด คือพัฒนาพระวิปัสสนาจารย์ หรือ วิทยากร ตามหลัก จิตตะ การพัฒนา
ที่แปด คือพัฒนาพระวิปัสสนาจารย์ หรือ วิทยากร ตามหลัก วิมังสา เพื่อให้มีคุณลักษณะของการ
เป็นผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ดีฃ
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของบรรพชิตและ
คฤหัสถ์ที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสานักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยองโดยภาพรวม และราย
ด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 2) ระดับความคิดเห็นของบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีต่อการบริหารจัดการ
เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสานักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยองโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ใน

ระดับเห็นด้วยมาก 3) ระดับความคิดเห็นของบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีต่อการบริหารจัดการเพื่อการ
เผยแผ่พระพุทธศาสนาของสานักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยองตามหลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวม และ
รายด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

References

KongbhuttasasansuksaSamnaknganprabhuddasasanahangchart.Samnakphatibuttamp
rajamjungwatdeeden 2553. Bangkok: Onab published, 2553.

เผยแพร่แล้ว

2020-04-11