การบูรณาการบทบาทของพระสงฆ์ร่วมกับเครือข่ายสังคมในการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมของชุมชนภาคอีสาน

ผู้แต่ง

  • พระสุวิจักขณ์ กุลยศชยังกูร สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การบูรณาการ,บทบาทพระสงฆ์กับเครือข่ายสังคม,เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและองค์ความรู้ในการเฝ้า ระวังทางวัฒนธรรมชุมชน 2) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์และเครือข่ายสังคมในการเฝ้าระวังทาง วัฒนธรรมของชุมชนในภาคอีสาน และ 3) เพื่อการบูรณาการบทบาทของพระสงฆ์และเครือข่าย สังคมในการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมของชุมชนภาคอีสาน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสํารวจ แบบ สังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลจากผู้รู้ 24 รูป/คน ภาคชุมชน 30 รูป/คน ผู้ ปฏิบัติ 36 รูป/คน และผู้ให้ข้อมูลทั่วไป 10 คน จากวัตประมวลราษฎร์ วัดศิริพงษาวาส และวัดป่า ไพบูลย์ และทําการวิเคราะห์ข้อมูล นําเสนอผลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

ความเป็นมาและองค์ความรู้ในการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมของชุมชนภาคอีสาน โดยเริ่ม มากจากมีการก่อตั้งกระทรวงวัฒนธรรมในสังกัดกรมศิลปากร ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติบํารุง วัฒนธรรมแห่งชาติ มีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เพื่อทําหน้าที่ในการขับเคลื่อนภารกิจหลัก ในการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เช่น โครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ การอบรมพระธรรม วิทยากร การค่ายธรรมบุตร และงานด้านเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เป็นต้น การดําเนินงานในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมาในการเฝ้าระวังติดตามความเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง มีการดําเนินงานเชิง รุกในการป้องกัน การแก้ไขปัญหาสังคมและวัฒนธรรม การพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และชัยภูมิได้ดําเนินการตามนโยบายตามลําดับ ขั้นตอนการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ซึ่งวัดประมวลราษฎร์ วัดศิริพงษาวาส และวัดป่าไพบูลย์ ได้มีการดําเนินการในรูปแบบการเข้าค่ายพุทธบุตรตามรูปแบบที่มาจากวัดชลประทานรังสฤษฎี

สภาพทางวัฒนธรรมของชุมชนภาคอีสาน ได้แก่ ด้านยาเสพติด ชู้สาว ทะเลาะวิวาท หนี เรียน และติดเกม โดยการดําเนินการวางแผนยังไม่เป็นระบบ ไม่ชัดเจน ขาดความร่วมมือของทุก ฝ่าย ทํางานที่ไม่ต่อเนื่อง มีการป้องกันที่ยังไม่รัดกุมทั้งตัวเอง ชุมชน และโรงเรียน มีการดําเนินการ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ยังไม่ตรงจุด เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ครอบครัวไม่ได้ให้ความรักความอบอุ่น เอาใจใส่ดูแลเต็มที่ เป็นการทํางานที่ขาดการบูรณาการร่วมกัน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว โดยมีการ บรรเทาปัญหานั้นในบางส่วน ไม่คอบคุมทั้งหมด

การบูรณาการในการทํางานของพระสงฆ์และเครือข่ายต้องมีการประชุมและวางแผน ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง กําหนดทิศทางที่ชัดเจนในการทํางาน มีการป้องกันโดยการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่เยาวชนในการปฏิบัติที่ป้องกันตนเองในครอบครัว โรงเรียนและชุมชนอย่างมีความ เข้าใจร่วมกันก่อนที่เหตุจะเกิดขึ้น เมื่อมีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด พูดคุย ให้กําลังใจ หาทางออกร่วมกัน ส่วนผู้ที่เกิดปัญหาขึ้นแล้ว ต้องให้การบรรเทาปัญหาโดยการพูดคุย ให้กําลังใจ ใช้วิธีการที่นุ่นนวล ไม่กระทบต่อสภาพจิตใจที่อ่อนแอ ให้การอบรมสั่งสอนตามหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนาที่นํามาปรับใช้ในการดําเนินชีวิต ซึ่งเป็นการทํางานร่วมกันของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ได้อย่างเป็นหนึ่งอันเดียวกัน ทํางานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

References

กรรณิการ์ โอมเณ. (2526). “บทบาทของพระสงฆ์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น:เฉพาะกรณีโครงการสหบาลข้าวหมู่บ้านท่าสว่าง อําเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คุณ โทขันธ์. (2552). บทบาทของพระสงฆ์ต่อการพัฒนา. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชําเลือง วุฒิจันทร์ (2526). การพัฒนากิจการคณะสงฆ์และกิจการพระศาสนาเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
ธีระเกียรติ ทีฆะบุตร (2548). “ความร่วมมือของเครือข่ายสังคมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนพื้นที่สถานีตํารวจนครบาลพหลโยธิน” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
บรรพต วีระสัย และคณะ. (2523), พระสงฆ์กับสังคมไทยโดยพิจารณาในเชิงสังคมเศรษฐกิจ การเมืองและการปกครองศึกษาในกรณีวัดในกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: มหากุฏราชวิทยาลัย.
พะยอม อิงคตานุวัฒน์. (2530). เด็กกับโรงเรียน กรุงเทพฯ: ฝ่ายการเผยแพร่ความรู้สมาคมวางแผน และครอบครัวแห่งประเทศไทย.
พิสิฏฐ์ บุญไชย และทรงคุณ จันทร. (2540), ศาสนาพุทธะสถานภาพ บทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมอีสาน, สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิทย์ วิทศเวทย์ และเสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2533), พระพุทธศาสนาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 .กรุงเทพมหานคร:สํานักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.
สุดาพร สินประสงค์. (2550). สาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาประเภทช่างอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี.

เผยแพร่แล้ว

2020-04-27

How to Cite

กุลยศชยังกูร พ. (2020). การบูรณาการบทบาทของพระสงฆ์ร่วมกับเครือข่ายสังคมในการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมของชุมชนภาคอีสาน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-05), 1–14. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/239727