ความรู้ความเข้าใจของนักเรียนที่มีต่อค่านิยม 12 ประการ : กรณีศึกษาโรงเรียน ธรรมราชศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ความรู้, ความเข้าใจ,ค่านิยม 12 ประการบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจและแนวทางส่งเสริมค่านิยม 12 ประการ แก่นักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างจำนวน 256รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า1) นักเรียนที่เป็นฆราวาสมีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยม 12 ประการอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 85.9 รองลงมามีระดับความรู้ความเข้าใจปานกลางร้อยละ 10.9และมีระดับความรู้ความเข้าใจน้อยร้อยละ 3.1 2) ระดับความรู้ความเข้าใจของพระภิกษุ สามเณรโรงเรียนธรรมราชศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 65.5 รองลงมามีระดับความรู้ความเข้าใจปานกลางคร้อยละ 21.9 และมีระดับความรู้ความเข้าใจน้อย ร้อยละ 12.5
สำหรับแนวทางส่งเสริมค่านิยม 12 ประการแบ่งเป็น 2 แนวทางหลักได้แก่ 1)การเรียนการสอน โดยบูรณาการค่านิยมหลัก 12 ประการ ควรให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นและทำกิจกรรมเพื่อเรียนรู้เรื่องค่านิยม 12 ประการ ที่ให้ทั้งสาระและบันเทิง ควรอธิบายถึงประโยชน์ที่นักเรียนจะได้รับจากค่านิยม 12 ประการ ควรนำหลักค่านิยม 12 ประการมาแทรกในแต่ละกลุ่มสาระวิชา และควรมีวิทยากรที่มีความรู้เกี่ยวกับค่านิยม 12 ประการมาอบรม 2) การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตรหรือกิจกรรมตามโครงการของโรงเรียน ควรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยม 12 ประการแก่นักเรียนมากขึ้น ควรจัดกิจกรรมนอกสถานที่เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง ได้พบปะผู้คนที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียน ควรจัดอบรมค่านิยม 12 ประการ 1-2 ครั้งต่อเดือน เพื่อไม่ให้ลืม และควรมีสื่อที่ให้ความรู้ค่านิยม 12 ประการ
References
Somkual Sanonguthai (1988). A Study of Population Values and Knowledge of Bachelor's Degree Students from Technology and Vocational College (Master's Thesis), Department of Education, Mahidol University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น