การพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • พระครูใบฎีกาสุวินท์ สุวิชาโน

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง “การพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดสมุทรปราการ”
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธ  2) ศึกษาสภาพทั่วไปของการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดสมุทรปราการ และ 3) นำเสนอการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดสมุทรปราการ  โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 12 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท การวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการโดยสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ซึ่งสุ่มด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย
จากประชากรจำนวน 2,786 คน ซึ่งเป็นผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียน ของโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.951  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัย พบว่า

            1) โรงเรียนวิถีพุทธ เป็นโรงเรียนที่นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้หรือประยุกต์ใช้ในการบริหารและการพัฒนาผู้เรียน ผู้เรียนได้พัฒนาการกิน อยู่ ดู ฟัง ให้เป็น และนำเอาหลักธรรมทางพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการบริหารและการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ อิทธิบาท 4
สัปปายะ 7 อริยสัจ 4 ไตรสิกขา และพรหมวิหาร 4

            2) การพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดสมุทรปราการ ด้านการกายภาพ  ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับที่สูงที่สุด รองลงมาคือด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต ส่วนที่มีระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด คือด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไม่ค่อยได้สนทนาปราศรัยกัน หรือจัดกิจกรรมร่วมกันมากเท่าที่ควร

            3) การพัฒนาการการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดสมุทรปราการนั้น พบว่า

            3.1) การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ ควรร่วมกันวางแผนและกำหนดนโยบาย มอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน และกำหนดให้บุคลากรทุกคนได้มีส่วนร่วม พร้อมทั้งนำหลักอิทธิบาทธรรม 4 มาบูรณาการ

            3.2) การพัฒนาด้านกายภาพ บ้าน วัด โรงเรียน ร่วมกันระดมทุนเพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนววิถีพุทธ สร้างความเข้าใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมแบบวิถีพุทธ พร้อมทั้งจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นไปตามหลักสัปปายะ 7

            3.3) การพัฒนาด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต ทุกฝ่ายควรตระหนักถึงความสำคัญของกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต ประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับทุกๆ ฝ่าย จัดกิจกรรมบูรณาการตามหลักอริยสัจ 4  อย่างมีเหตุผลในการแก้ไขปัญหา

            3.4) การพัฒนาด้านการเรียนการสอน ควรกำหนดหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับวิถีพุทธ บุคลากรของโรงเรียน ควรเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ที่ดี พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมอย่างแท้จริง เน้นการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน จัดการเรียนการสอนตามหลักไตรสิกขา

            3.5) การพัฒนาด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ บุคลากรของโรงเรียน ควร สร้างความเป็นกัลยาณมิตร ด้วยการยิ้มแย้มแจ่มใสทักทายกัน ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี โดยบูรณาการกับหลักพรหมวิหาร 4

References

Anuwat Krasang. (2014). Human Resource Development in the Buddhist Organizations Under Consumerism. AEE-T. Journal of Environmental Education, 3(2), 546-556.
Chaiwat Uthaisaenchut. (2012). School Safety Management Strategies (Doctor of Philosophy Thesis). Graduate School: Silpakorn University.
Department of Academic Affairs. (2003).National Economic and Social Development Board Ninth National Economic and Social Development Plan 2002-2006 Bangkok: Siam Sport.
Phrakrusangharak Kiettisak Kittipañño. (2015). Model of Buddhist Leadership Development in Organization Management of Mahachalalongkorn-
rajavidyalaya University. Journal of MCU Social Science Review, 4(2) (Special Issue), 212-227.
Office of Educational Innovation Development Ministry of Education. (2005). Guidelines for the implementation of Buddhist schools. Bangkok: Ministry of Education.
Sirima Monmai. (2011). Educational Administration for Children's Rights in Secondary Schools under the UN Convention on the Rights of the Child (Doctor of Philosophy thesis). Graduate School: Silpakorn University.
Sutthiphong Siwichai and Grop. An Analysis of School Style in Buddhism: A Case Study of Buddhist Schools in 10 Educational Areas (Research Report). Faculty of Education: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Suwari Siriphokhaphirom. (2003). Educational Research. Lopburi: Printing Department, The Rajabhat Institute.

เผยแพร่แล้ว

2018-02-24

How to Cite

สุวิชาโน พ. (2018). การพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 84–98. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/235321