การพัฒนาคู่มือการชมงานจิตรกรรมฝาผนังของวัดในจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงศิลปะในงานจิตรกรรมไทย

ผู้แต่ง

  • แผน เอกจิตร นักศึกษาปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การเข้าถึงศิลปะในงานจิตรกรรมไทย, คู่มือการชมงานจิตรกรรมฝาผนัง

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาคู่มือการชมงานจิตรกรรมฝาผนังของวัดในจังหวัดสุพรรณบุรี ที่จะช่วยส่งเสริมการเข้าถึงศิลปะในงานจิตรกรรมไทย  2) เพื่อศึกษาการเข้าถึงศิลปะในงานจิตรกรรมไทยของประชาชนทั่วไป ภายหลังการใช้คู่มือ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนทั่วไป ที่มีต่อการใช้คู่มือการชมงานจิตรกรรมฝาผนังของวัดในจังหวัดสุพรรณบุรี แหล่งข้อมูล ประกอบด้วย 3 กลุ่ม 1) กลุ่มเยาวชน 2) กลุ่มผู้ใหญ่ 3) กลุ่มผู้สูงอายุ โดยวิธีเลือกสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sample)
            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านการชมงานจิตรกรรมฝาผนัง 2) คู่มือการชมงานจิตรกรรมฝาผนังของวัดในจังหวัดสุพรรณบุรี 3) แบบประเมินคุณภาพคู่มือการชมงานจิตรกรรมฝาผนังของวัดในจังหวัดสุพรรณบุรี 4) แบบสัมภาษณ์ในการชมงานจิตรกรรมฝาผนังของไทย 5) แบบวัดทัศนคติในการชมงานจิตรกรรมฝาผนังของไทย 6) แบบประเมินความพึงพอใจในการชมงานจิตรกรรมฝาผนังของวัดในจังหวัดสุพรรณบุรี
            ผลการวิจัยพบว่า

1.การพัฒนาคู่มือการชมงานจิตรกรรมฝาผนังของวัดในจังหวัดสุพรรณบุรี มีผลการประเมินคุณภาพคู่มือการชมงานจิตรกรรมฝาผนังวัดหน่อพุทธางกูร และวัดประตูสาร เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงศิลปะในงานจิตรกรรมไทย สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี

2.การเข้าถึงศิลปะในงานจิตรกรรมไทย ของกลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้ใหญ่ กลุ่มผู้สูงอายุ

            2.1 ผลการสัมภาษณ์ พบว่าวัตถุประสงค์การเข้ามาในอุโบสถเพื่อชมงานจิตรกรรมฝาผนัง มีความประทับใจในการชมงานเก่าแก่ของภาพจิตรกรรมฝาผนัง มีความสนใจเรื่องรูปแบบในภาพเขียน และเนื้อเรื่องที่นำมาเขียน ปัญหาการเข้าถึงศิลปะ มีสาเหตุจากการไม่เข้าใจวิธีการดูงานศิลปะ และอ่านภาษาศิลปะไม่ออก สาเหตุการมาชมงานจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถโดยเฉพาะห้องภาพที่ 3 วัดหน่อพุทธางกูร และห้องภาพที่ 5 วัดประตูสาร มีผู้ชมให้ความสนใจมาก ผู้มาชมงานจิตรกรรมฝาผนังมีความพึงพอใจคู่มือการชมงานจิตรกรรมฝาผนัง
             2.2 ผลการวัดทัศนคติพบว่า ผู้เข้าชมงานจิตรกรรมฝาผนัง ทีทัศนคติอยู่ในระดับเห็นด้วย

3.ผลความพึงพอใจของประชาชนทั่วไป ที่มีต่อการใช้คู่มือการชมงานจิตรกรรมฝาผนังวัดหน่อพุทธางกูรและวัดประตูสารพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

References

Chalood Nimsamer. (1989). Access to the Arts in Traditional Thai Paintings. Bangkok : Amarin Printing Co., Ltd.
Sonthiwan Inthralip. (1993). Glossary of Thai Painting In Buddhism. Bangkok : Mahamakut Buddhist University Press.
Samerchai Poolsuwan. (1996). Symbols in Thai painting during the 19th and 24th centuries. Bangkok : Thammasat University Press.
Fine Arts, Department. (2005). Murals Painting Suphanburi Province. Bangkok : Cyber Rock Agency Group Co., Ltd.
Nor. Na Paknam. (2007). Beauty in Thai art. Bangkok : Ancient City Publishing (In- the name of Viriya Business Co., Ltd.)
Santi Leksukhum. (2010). Technician Thai traditional crafts. Bangkok : Rungsilp Printing (1977) Co., Ltd.
Mano Kleepthong. (1992). "A Study on Mural Painting inside the Ancient Ubosoth of Wat Nor Phuthang Kura, Tambol Phi Han Daeng, Amphoe Muang, Changwat Suphan Buri." A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree Master of Arts Department of Archaeology Graduate School Silpakorn University.

เผยแพร่แล้ว

2019-03-23

How to Cite

เอกจิตร แ. (2019). การพัฒนาคู่มือการชมงานจิตรกรรมฝาผนังของวัดในจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงศิลปะในงานจิตรกรรมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 178–192. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/167609