การวิเคราะห์และสำรวจมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์และทฤษฎีการศึกษาแบบครอบคลุม เรื่อง การนำเสนอข้อมูล เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์, ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์, ทฤษฎีการศึกษาแบบครอบคลุม, การนำเสนอข้อมูลบทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. วิเคราะห์และสำรวจมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 2. นำเสนอแนวทางการออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์และทฤษฎีการศึกษาแบบครอบคลุม เรื่อง การนำเสนอข้อมูล เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และนักออกแบบชุดกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสร้างผู้ใช้จําลอง แบบวิเคราะห์ปัญหาและแบบบันทึกผลลัพธ์ของหลักการออกแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ประกอบไปด้วยผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พบว่าด้านของผู้อำนวยการโรงเรียนมุ่งเน้นการพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเสริมสร้างความมั่นใจและความสนุกสนานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้านของครูให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิธีการสอนที่สอดคล้องกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคน ด้านของนักเรียนมีความต้องการเพิ่มความเข้าใจและความมั่นใจในการแก้โจทย์ปัญหา และด้านของผู้ปกครองต้องการกิจกรรมการเรียนรู้ที่ลดความวิตกกังวลและกระตุ้นความสนใจของบุตรหลาน 2. แนวทางการออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยใช้หลักการออกแบบของสุวิมล ว่องวาณิช ประกอบด้วย เป้าหมาย ข้ออ้างเชิงเหตุผล การออกแบบตัวแทรกแซง ได้แก่ จุดเน้นเชิงสาระ และ จุดเน้นเชิงกระบวนการ และ ตัวแทรกแซง ได้แก่ ปัจจัยป้อน กระบวนการปฏิบัติ ซึ่งช่วยในการออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การนำเสนอข้อมูล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย การออกแบบการเรียนรู้ตามแนวทางของ Kolb และทฤษฎีการศึกษาแบบครอบคลุม ส่งผลให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
กัญภร เอี่ยมพญา และคณะ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 29(2), 45-60.
น้ำทิพย์ วิมูลชาติ และมาเรียม นิลพันธุ์. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(1), 87-102.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). แนวทางการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สสวท.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). ผลการประเมิน PISA 2022 และแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทย. สืบค้น 26 ธันวาคม 2567, จาก https://pisathailand
สุวิมล ว่องวาณิช. (2563). การวิจัยการออกแบบทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนงค์นาถ ทนันชัย. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการนำเสนอของผู้เรียน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 15(3), 113-130.
อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล. (2557). คู่มือการออกแบบบริการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC).
Bruner, J. S. (1966). Toward a theory of instruction. London: Harvard University Press.
Florian, L. & Black-Hawkins, K. (2011). Exploring inclusive pedagogy. British Educational Research Journal, 37(5), 813-828.
Hockings, C. (2010). Inclusive Learning and Teaching in Higher Education: A Synthesis of Research. New York: Higher Education Academy.
Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
______. (2015). Experiential learning: Experience as the source of learning and development (2nd ed.). London: Pearson Education.
McKenney, S. & Reeves, T. (2018). Conducting educational design research. Routledge. London: Routledge.
Morris, R. (2020). The impact of experiential learning on elementary students' mathematical reasoning. Journal of Mathematics Education, 12(2), 45-62.
Sharma, U. & Salend, S. J. (2016). Teaching practices to support inclusive education: Key research insights. International Journal of Inclusive Education, 20(12), 1235-1247.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น