การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่ออุณหภูมิพื้นผิวในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ภาณุพงศ์ บรรเทาทุกข์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภัทราพร สร้อยทอง มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ประสาร อินทเจริญ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปกรณ์ เพ็ชรประยูร มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

อุณหภูมิพื้นผิว, การใช้ประโยชน์ที่ดิน, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่ออุณหภูมิพื้นผิวในจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โปรแกรม ArcGIS เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดัชนีพืชพรรณ ความหนาแน่นของประชากร การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และอุณหภูมิพื้นผิวในช่วงพ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2561 ผลการศึกษา

ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่เกษตรกรรมลดลงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 5.12 พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.95 ทุกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินมีอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงขึ้น ทำให้ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้นจาก 29.54 เป็น 30.90 ซึ่งเพิ่มขึ้น 1.36 องศาเซลเซียส และพื้นที่ที่มีอุณหภูมิ พื้นผิวสูง 29.87-34.35 องศาเซลเซียสมีเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.92 ส่วนพื้นที่ที่มีค่าดัชนี พืชพรรณสูงลดลงร้อยละ 19.97 ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ที่ลดลงบริเวณอำเภอศรีราชา บ้านบึง และบ่อทอง ส่วนพื้นที่ ที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29 ส่วนใหญ่อยู่บริเวณด้านตะวันตกของจังหวัดชลบุรีที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ตั้งแต่อำเภอเมือง ศรีราชา และบางละมุง ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ สำหรับพื้นที่ที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของเชื้อเพลิงฟอสซิลในระดับสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.51 ส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่ตั้งของชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในอำเภอศรีาชาและบางละมุง

References

ชัยพล กีรติกสิกร. (2560). การศึกษาสภาพแวดล้อมเมืองด้วยข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภัทราพร สร้อยทอง และคณะ. (2560). การวิเคราะห์ปรากฏการณ์เกาะความร้อนและก๊าชเรือนกระจกในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศรีสอาด ตั้งประเสริฐ. (2537). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการประเมินค่าทรัพยากรที่ดิน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ศุทธินี ดนตรี และชาคริต โชติอมรศักดิ์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิผิวพื้นและรูปแบบการใช้ที่ดินจากข้อมูลระยะไกลในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2563). ส่องแนวโน้มความต้องการกำลังคนชลบุรี 5 ปี. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.eeco.or.th/pr/eec-hot-news-vol24

Chris, C. j. (2019). Introduction to human geography: using ArcGIS online. Redlands, California: Esri Press.

Ivajnsic, D., et al. (2014). Geographically weighted regression of the urban heat island of a small City. Applied Geography, 53(2014), 341-353.

Li, C., et al. (2018). Analysis of the spatiotemporally varying effects of urban spatial patterns on land surface temperatures. Journal of Environmental Engineering and Landscape Management, 26(3), 216–231.

Liu, H., & Weng, Q. (2012). Enhancing temporal resolution of satellite imagery for public health studies: A case study of West Nile Virus outbreak in Los Angeles in 2007. Remote Sensing of Environment, (117), 57–71.

Mohan, M. & Kandya, A. (2015). Impact of urbanization and land-use/land-cover change on diurnal temperature range: A case study of tropical urban airshed of India using remote sensing data. Science of the Total Environment, 506–507 (2015), 453–465.

Noresah, M., et al. (2010). Modelling Urban Land Use Change Using Geographically Weighted Regression and the Implications for Sustainable Environmental Planning. International Environmental Modelling and Software Society (iEMSs) 2010 International Congress on Environmental Modelling and Software Modelling for Environment’s Sake, Fifth Biennial Meeting, Ottawa, Canada. David A. Swayne, Wanhong Yang, A. A. Voinov, A. Rizzoli, T. Filatova (Eds.)

Tran, D.X., et al. (2017). Characterizing the relationship between land use land cover change and land surface temperature. ISPRS Journal of Photogrammetry and Remote Sensing, 124(2017), 119–132.

Zhang, X., et al. (2017). An urban heat island study in Nanchang City, China based on land surface temperature and social-ecological variables. Sustainable Cities and Society, 32(2017), 557–568.

Zhang, Y., et al. (2015). Characterizing bi-temporal patterns of land surface temperature using landscape metrics based on sub-pixel classifications from Landsat TM/ETM+. International Journal of Applied Earth Observation and Geoinformation, 42(2015), 87–96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-17

How to Cite

บรรเทาทุกข์ ภ., สร้อยทอง ภ., อินทเจริญ ป., & เพ็ชรประยูร ป. (2023). การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่ออุณหภูมิพื้นผิวในจังหวัดชลบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(5), 290–303. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/264277