ประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ในเขตปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, การบริหารจัดการ, คณะสงฆ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการโครงการ 2. เพื่อศึกษากระบวนการในการบริหารจัดการโครงการ 3. เพื่อนำเสนอประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ในเขตปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 รูปหรือคน และเก็บข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำเสนอเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการบริหารโครงการมีจุดแข็ง คือ เจ้าคณะผู้ปกครองมีความสามารถในการพัฒนาวัด โดยจุดอ่อน คือ ในบางพื้นที่ประชาชนยังไม่ค่อยเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยโอกาส คือ ทำให้วัดเกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และอุปสรรค คือ วัดในบางพื้นที่ยังขาดความร่วมมือกันระหว่าวัดกับชุมชน 2. การวางแผน ได้มีการกำหนดวิธีการ เป้าหมายในการดำเนินโครงการ การลงมือปฏิบัติ ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างวัดกับชุมชน มีการชี้แจง เป้าประสงค์ของโครงการ การตรวจสอบ ได้มีการสำรวจความคืบหน้าภายหลังได้ลงมือปฏิบัติ การปรับปรุงแก้ไข ได้มีการนำข้อพกพร่องจากมาลงมือปฏิบัติมาแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น 3. ประสิทธิผลการบริหารจัดการโครงการ พบว่า ทำให้วัดมีสภาพแวดล้อมโดยรวมสัปปายะ เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ
References
ไกรศร วันละ และภักดี โพธิ์สิงห์. (2564). โมเดลการพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่นตามโครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส ขององค์การบริหารส่วนตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 379-393.
บัญชายุทธ นาคมุจลินท์. (2555). วิเคราะห์การบริหารองค์กรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดอุทัยธานี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูภาวนาโสภิต (บุญรัตน์ เมืองวงศ์). (2553). การบริหารการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในล้านนา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
พระครูศรีกิตยาธร (นนทชัย เจริญยุทธ) และคณะ. (2564). การประยุกต์ใช้หลักสัปปายะ 4 เพื่อเสริมสร้างการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(2), 517-530.
พระครูอาทรวรธรรม (บุญธรรม หมื่นคลัง) และคณะ. (2564). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(2), 239-251.
พระปลัดธีรภัทร์ นาถสีโล และคณะ. (2565). รูปแบบการบริหารจัดการโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์ จังหวัดปทุมธานี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 6(1), 87-101.
พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ (แซ่หลี). (2558). การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ด้วยการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาธีรวัฒน์ เสสปุญฺโญ. (2565). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(1), 133-144.
พระมหาเรืองเดช ถาวรธมฺโม. (2554). การบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนวัดไผ่ล้อม ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี (รายงานวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิริรัตน์ คลังเย็น. (2557). การบริหารงานสู่ความเป็นเลิศตามหลักพุทธธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น