รูปแบบเครือข่ายเฝ้าระวังประชาธิปไตยในการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่น ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ไกรศร วันละ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ยุภาพร ยุภาศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สัญญา เคณาภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

รูปแบบเครือข่าย, การป้องกันการทุจริต, เลือกตั้งท้องถิ่น, ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. สภาพการดำเนินงาน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน 3. สร้างและยืนยันรูปแบบการดำเนินงานเครือข่ายเฝ้าระวังประชาธิปไตยในการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง ใน 9 จังหวัด ใช้การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 35 คน และกลุ่มเป้าหมายวิพากษ์รูปแบบ 15 คน ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 2 ลำดับแรก ได้แก่ 1) การออกเสียงประชามติ 2) การเลือกตั้ง และระดับปัจจัยการดำเนินงานอยู่ในระดับมากทั้ง 9 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 2 ลำดับแรก ได้แก่ 1) การเข้าถึงกลไกการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่น 2) อุดมการณ์ร่วมกันของครือข่ายเฝ้าระวังประชาธิปไตย 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำงาน คือปัจจัยพยากรณ์ จำนวน 7 ปัจจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .892 มีอำนาจในการพยากรณ์ได้ถึงร้อยละ 79.50 3) และ 3. การสร้างและยืนยันรูปแบบพบว่า ทั้ง 7 ปัจจัย เช่น การส่งเสริมจากภาครัฐ การเข้าถึงการตรวจสอบกลไกการป้องกันการทุจริต เป็นต้น ทั้งหมดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

References

ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. (2561) การทุจริตการเลือกตั้ง : อุปสรรคการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย. วารสารรัฐศาสตร์สุโขทัยธรรมาธิราช, 2(2), 2-17.

ชูศักดิ์ คำล้น และกฤษณา ไวสำรวจ. (2563). ภาคีเครือข่ายกับกลไกการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(12), 389-402.

ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์. (2561). การทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 72-81.

เดลินิวส์. (2564). กกต. ลุยเข้ม เลือกตั้ง อบต. สกัดทุจริต-เฝ้าระวังโควิด. สืบค้น 25 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.dailynews.co.th/articles/437659/

ทัตดนัย คุ้มครอง. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบการทุจริตเลือกตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบล (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2554). การกระจายอำนาจ แนวคิดและประสบการณ์จากเอเชีย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร. (2564, 31 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 12 ง. หน้า 10-12.

ศุภเยาว์ นาคเงินทอง และคณะ. (2561). การป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกลไกพุทธบูรณาการ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, (7)2, 1-11.

สถาพร เริงธรรม และอภิชัย พันธเสน. (2563). การประยุกต์ใช้แนวคิดการอภิบาลผ่านความร่วมมือในการป้องกัน และปราบปรามการคอร์รัปชัน. King Prajadhipok’s Institute Journal, 8(2). 2-16.

สมัย สายอ่อนตา. (2562). แนวโน้มที่อดีตข้าราชการจะได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้บริหารท้องถิ่น. วารสารการศึกษาและวิจัยเชิงพุทธ, 5(2), 222-238.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งท้องถิ่น. (2564). รวมข่าว กกต. สืบค้น 6 สิงหาคม 2565, จาก http://intranet.ect.go.th/Download/Newsclipping/041121.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครสวรรค์. (2560). กกต. จัดอบรมดีเจประชาธิปไตย รุ่น 5 (ภาคเหนือ). สืบค้น 25 กรกฎาคม 2565, จากhttps://www.ect.go.th/nakhonsawan/ewt_news.php?nid=3004&ewt

สิรินทิพย์ ศรีสว่างวงศ์ และปิยะนุช เงินคล้าย. (2564). ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนนโยบายขนส่งสาธารณะ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(4), 151-164.

หน้าที่ของปวงชนชาวไทย เรื่อง ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 13.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed). New York: Harper & Row.

Stufflebeam, D. L. & Shink field, A.J. (2007). Evaluation theory model & Applications CA: Jossey-Bass.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-17

How to Cite

วันละ ไ., ยุภาศ ย., & เคณาภูมิ ส. (2023). รูปแบบเครือข่ายเฝ้าระวังประชาธิปไตยในการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่น ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(5), 1–17. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/262434