มาตรการทางกฎหมายในการดูแลและคุ้มครองพระพุทธรูปโบราณภายใต้พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
คำสำคัญ:
พระพุทธรูปโบราณ, ดูแลและคุ้มครอง, มาตรการทางกฎหมายบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาปัญหาในการดูแลและคุ้มครองพระพุทธรูปโบราณ 2. ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการดูแลและคุ้มครองพระพุทธรูปโบราณของประเทศไทย และ 3. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสม ในการในการดูแลและคุ้มครองพระพุทธรูปโบราณ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การวิจัยเอกสาร กฎหมาย บทความ รายงานวิจัยและอื่น ๆ ผู้วิจัยสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม คือ 1. ผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมศิลปากร 2. นักกฎหมาย 3. นักวิชาการทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศาสนา และ 4. พระภิกษุสงฆ์ และรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์หามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการคุ้มครองพระพุทธรูปโบราณในประเทศไทย
ผลการวิจัยพบว่า ไม่มีกฎหมายเฉพาะในการคุ้มครองพระพุทธรูปโบราณ จึงได้นำมาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาใช้บังคับแทน ซึ่งกฎหมายดังกล่าวไม่มีคำนิยาม พระพุทธรูปโบราณทำให้พระพุทธรูปโบราณไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ การควบคุมการส่งออกพระพุทธรูปโบราณ ยังมีช่องว่างในการอนุญาตให้ส่งออกพระพุทธรูปโบราณไปต่างประเทศได้ กรมศิลปากรมีบุคลากรไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถสำรวจและขึ้นทะเบียนพระพุทธรูปโบราณของวัดได้ทั่วประเทศ จึงควรมีการปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายในการดูแลและคุ้มครองพระพุทธรูปโบราณ ให้ได้ความชัดเจน ครอบคลุมในการดูแลและคุ้มครองพระพุทธรูปโบราณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
กรมศาสนา. (2558). ศาสนาในประเทศไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977).
กรมศิลปากร. (2559). ระบบ Nation Single Window (NSW) นำเข้า ส่งออก โบราณวัตถุศิลปะวัตถุ. นนทบุรี: บริษัท เอบุ๊คดิสตริบิวชั่น จำกัด.
จารุวรรณ พึ่งเทียร. (2555). พุทธศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พีรวัชร์ ราชิวงศ์. (2561). แนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถานในวัดมณีวนารามจังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2559). พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2556). พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
สมชาติ จึงสิริอารักษ์. (2560). ประวัติ แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติการในการอนุรักษ์โบราณสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: บริษัท ภาพพิมพ์.
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร. (2553). คู่มือการสำรวจขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุศิลปวัตถุในความครอบครองของวัดและเอกชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาพันธ์.
_____. (2560). คู่มือการพิจารณาประเภทโบราณวัตถุศิลปวัตถุเพื่อขออนุญาตส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักร. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977).
เอกพงษ์ สารน้อย. (2560). สภาพปัญหาการคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นประเภทที่จับต้องไม่ได้ (ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น