ปรัชญาขงจื๊อโบราณที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดสังคมไทยสมัยใหม่

ผู้แต่ง

  • พระมหานิรุต ญาณวุฑฺโฒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปรัชญา, ขงจื๊อ, คุณธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดปรัชญาขงจื๊อ ด้านปรัชญาปัจเจกชน ด้านปรัชญาสังคม ด้านปรัชญาการเมือง และแนวคิดขงจื๊อที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ทั้งนี้เนื่องจากปรัชญาขงจื๊อมีผลต่อการพัฒนาด้านการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของชาวจีนมาร่วมสองพันกว่าปี เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต การจัดระเบียบสังคม ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม และการวางตนในการอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์อย่างมีสันติสุข เน้นการจัดระเบียบแบบแผนที่ดีให้แก่ครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันเล็กที่สุดของสังคม เพื่อให้เป็นรากฐานทางจริยธรรม และเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในสังคม บุคคลที่มาจากครอบครัวที่มีคุณธรรมและจริยธรรมเมื่อเป็นผู้ปกครองก็จะเป็นผู้ปกครองที่ดีได้ โดยมีหลักคำสอนที่สำคัญคือ ความเมตตาธรรม ความชอบธรรม ขนบประเพณีจริยธรรม และปัญญา ดังนั้นจึงควรนำแนวคิดนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสังคมไทย จะทำให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตน สังคม และประเทศชาติได้เป็นอย่างดี

References

กรศิริ คตภูธร. (2558). การศึกษาหลักจริยศาสตร์ของขงจื๊อ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 3(2), 18.

กิตติพัฒน์ สุวรรณสิริเมธี. (2550). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาการเมือง. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2565, จาก http://korat.mcu.ac.th/site/articlecontent

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2536). บ่อเกิดลัทธิประเพณีจีน ภาค 1-3 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. (2532). ขงจื๊อ: คำสอนทางปรัชญา-ศาสนา. วารสารเอเชียตะวันออก, 2(1), 12-20.

ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์. (2551). ธรรมะขงจื๊อสอนคนให้เป็นคน. กรุงเทพฯ: ใบบัว.

เฝิงอิ่วหลัน. (2544). ปรัชญาจีนจากขงจื๊อถึงเหมาเจ๋อตุง. กรุงเทพฯ: พิราบ.

วิภา จิรภาไพศาล. (2564). ขงจื๊อปราญ์ผู้ยิ่งในประวัติศาสตร์จีนกับท่าทีอีหลักอีเหลื่อของพรรคคอมมิวนิสต์. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564, จาก https://www.silpa-mag.com/history/ article_39355

สุวัฒน์ ทาสุคนธ์. (2559). ความคิดของขงจื๊อเพื่อสังคมที่เป็นสุข. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์. 35(1), 65-88.

เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์. (2552). จริยศาสตร์แห่งความอาทรในขงจื๊อ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อรนิตย์ จิวโพธิ์เจริญ. (2559). อุดมคติของชีวิตตามหลักปรัชญาขงจื๊อกับการจัดระเบียบทางสังคม. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 4(1), 58-72.

Yao, Xinzhong. (2012). Introduction: Conceptualizing virtues in the analects of Confucius. Journal of Chinese Philosophy, 39 (1), 3-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-17

How to Cite

ญาณวุฑฺโฒ พ. (2023). ปรัชญาขงจื๊อโบราณที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดสังคมไทยสมัยใหม่. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(5), 471–484. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/258727