ความเหมาะสมของมาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ในกรณีพระภิกษุถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำผิดอาญา

ผู้แต่ง

  • พระครูวินัยธรเอก ชินวํโส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสิทธินิติธาดา (ชลัช โชติทตฺโต) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • โกเมศ ขวัญเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

มาตรการ, ความเหมาะสม, พระภิกษุถูกจับ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อค้นพบข้อเสนอแนะความเหมาะสมของมาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ในกรณีพระภิกษุถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำผิดอาญา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการศึกษาพบว่า กรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าอาวาสเสียเองนั้น ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 29 มิได้กำหนดไว้ จึงเกิดปัญหาช่องว่างในการตีความกฎหมาย เจ้าอาวาสหลายรูปที่ถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำผิดอาญาจึงไม่มีผู้รับมอบตัวไว้ควบคุม เพื่อดำเนินการในการต่อสู้คดี เจ้าอาวาสนั้นจึงต้องโดนสละสมณเพศไปโดยปริยาย จึงควรปรับปรุงเพิ่มเติม มาตรา 29 ของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ถ้าเจ้าอาวาสกระทำผิดกฎหมายอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี ให้มีเจ้าคณะพระสังฆาธิการ ผู้ปกครองระดับสูงขึ้นไปตามลำดับชั้นร่วมกันปรึกษากับพนักงานสอบสวน เมื่อเห็นเจ้าอาวาสนั้นไม่หลบหนีและยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน พนักงานสอบสวนสมควรปล่อยตัวชั่วคราว และให้เจ้าคณะพระสังฆาธิการลำดับสูงรับตัวเจ้าอาวาสไปพำนักในวัดที่เห็นสมควร

References

คฑาวุธ วีระวงษ์. (2554). การดำเนินคดีอาญากับพระสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และฉบับแก้ไข (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2535. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชนิญญา ชัยสุวรรณ. (2526). การใช้ดุลพินิจในการดำเนินคดีอาญาของอัยการ.(วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรวัฒน์ สวยงาม. (2561). การพัฒนาความยุติธรรม ศึกษากรณีการกำหนดโทษสถานอื่นแทนการลงโทษประหารชีวิตในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.

พระพิมลธรรม (อาสภมหาเถร).( 2530) ผจญมาร บันทึกชีวิต 5 ปี ในห้องขัง. กรุงเทพฯ: บัณฑิตการพิมพ์.

พิชัย นิลทองคำ. (2554). ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง-วิธีพิจารณาความอาญา.กรุงเทพฯ: บริษัท อฑตยา จำกัด.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2559). คู่มือพระสังฆาธิการ(พ.ศ.2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุขุมาลย์ สุโขบล. (2554). การประกันตัวในชั้นสอบสวน: ศึกษาในแง่การใช้ดุลพินิจเจ้าพนักงานในทางปฏิบัติ วิเคราะห์ตามแนวทางสังคมศาสตร์. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite

ชินวํโส พ. ., (ชลัช โชติทตฺโต) พ., & ขวัญเมือง โ. . (2022). ความเหมาะสมของมาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ในกรณีพระภิกษุถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำผิดอาญา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(3), 323–332. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255336