ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการบวชของพุทธศาสนิกชนใน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พระสนธยา อธิจิตฺโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่งเสริม, การบวช, พุทธศาสนิกชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของพระสงฆ์ ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็น ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่าง 193 รูป เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสังคมศาสตร์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 8 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการบวชของพุทธศาสนิกชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) พระสงฆ์ที่มีพรรษา และวุฒิการศึกษาทางโลกแตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ปัญหา อุปสรรค คือ คนที่อยากบวชขาดปัจจัย บางคนถูกบังคับให้บวช บวชเพราะว่าไม่อยากทำงาน ความแก่ชรา หลบหนีคดี ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการส่งเสริม ให้เข้าใจถึงการบวชอย่างแท้จริง มีการศึกษาในระหว่างบวช อบรมก่อนบวช ตรวจสอบประวัติของผู้ที่จะมาบวชก่อน มีสื่อที่เป็นของตนเอง ในการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพระสงฆ์

References

กรมศิลปากร. (2527). จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

จิตจา ที่หนองสังข์. (2564, 22 มีนาคม). ผู้อำนวยการโรงเรียนระดมวิทยานุสรณ์ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา [บทสัมภาษณ์].

จำนง อดิวัฒนสิทธิ์. (2538). พฤติกรรมการบวชของคนไทย (พุทธศาสนาศึกษา) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธาดา หิรัญภูวนาถ. (2564, 23 มีนาคม). นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา [บทสัมภาษณ์].

นิกร ศรีราช. (2564, 16 มีนาคม). อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย [บทสัมภาษณ์].

พระครูถาวรกิจจารักษ์ กิตฺติโสภโณ. (2564, 22 มีนาคม). เจ้าคณะอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา [บทสัมภาษณ์].

พระครูปัญญากิจวัฒนกิจ. (2564, 22 มีนาคม). รองเจ้าคณะอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. [บทสัมภาษณ์].

พระครูวินัยธรเอก ชินวํโส, ดร.. (2564, 30 มีนาคม). อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย [บทสัมภาษณ์].

พระณัฎฐเสฎฐ์ อธิญาโณ (รุ่งเรือง). (2553). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการบวชเนกขัมมะของพุทธศาสนิกชน: ศึกษากรณี วัดนครป่าหมาก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาพงษ์เชฎฐ์ ธีรวํโส (ไกรจันทร์). (2547). การศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ตามพระวินัยของพระอุปัชฌาย์ ตามทัศนะของสัทธิวิหาริก (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

พระมหาหลอด รตนญาโณ (พูลกิ่ง). (2555). ศึกษาความคิดเห็นของพระนวกะต่อการอุปสมบท : ศึกษากรณี วัดชลประทานรังสฤษดิ์ จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตพระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระโสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2529). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

ภาษิต สุขวรรณดี และคณะ. (2553). แรงจูงใจในการบวชเรียนของพระภิกษุและสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดนครปฐม (รายงานวิจัย). นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2549). ปฐมสมันตปาสาทิกาแปลเล่มที่ 1. (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วิฑูรย์ จุลบท. (2564, 24 มีนาคม). ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่สนตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา [บทสัมภาษณ์].

ศศิธร จำพิมาย. (2564, 24 มีนาคม). ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลประชาสามัคคี อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา [บทสัมภาษณ์].

สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท. (2530). ไตรภูมิกถา พร้อมคำแปลภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: โครงการวรรณกรรม.

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: ฝ่ายเอกสารการพิมพ์สถาบันราชภัฎเทพสตรี.

สำนักงานเจ้าคณะอำเภอสูงเนิน. (2563). สถิติภิกษุ สามเณร และศิษย์วัด อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาพุทธศักราช 2563. นครราชสีมา: สำนักงานเจ้าคณะอำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมา.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2563). ข้อมูลทะเบียนวัด ณ เดือนมกราคม พ.ศ. 2562. สืบค้น 9 กันยายน 2563, จาก http://binfo.onab.go.th/Temple/Temple-List-View.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). (2563). สถิติศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จำนวนพระภิกษุ สามเณร ในศาสนาพุทธ พ.ศ. 2552–2561. สืบค้น 30 ธันวาคม 2563, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/04.aspx.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite

อธิจิตฺโต พ. ., สุนนฺโท พ., & กิตฺติโสภโณ พ. (2022). ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการบวชของพุทธศาสนิกชนใน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(3), 82–97. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/254488