รูปแบบการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วมอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ปกิตน์ สันตินิยม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ธนาคารน้ำใต้ดิน, ภัยแล้งและน้ำท่วม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสอดคล้องของรูปแบบ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบ และ นำเสนอรูปแบบ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี 423 คน ได้จากการสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 19 รูปหรือคน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มเฉพาะ 9 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติแบบบรรยายและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่าไค-สแควร์ = 88.60; df = 80; p =.239; RMSEA =.016; GFI =.980; AGFI =.950 และทุกตัวแปรในโมเดลร่วมกันอธิบายตัวแปรผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินได้ร้อยละ 100 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบ มี 3 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ (2) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และ (3) ปัจจัยด้านอิทธิบาท 4 และ 3) รูปแบบการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดิน พบว่า การแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานีที่นำเสนอปรากฏว่าหลักอิทธิบาท 4 เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างปัจจัยด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลและปัจจัยด้านภาวะผู้นำกับผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดิน

References

กรมทรัพยากรน้ำ. (2558). แนวคิดการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรน้ำ.

กองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ. (2563). เปิดตัวเลขดุลการค้า. สืบค้น 20 มกราคม 2563, จาก http://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร/31177/TH-TH

ขวัญใจ เปือยหนองแข้. (2563). ธนาคารน้ำใต้ดิน: นวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำ. พัฒนวารสาร, 7(1),281.

เจริญ คัมภีรภาพ. (2564, 9 กรกฎาคม). ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการ [สนทนากลุ่มเฉพาะ].

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2552). วิจัยและสถิติ: คำถามชวนตอบ. กรุงเทพฯ: ไอคอนพริ้นติ้ง.

นิวัติ เรืองพานิช. (2547). หลักการจัดการลุ่มน้ำ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

บุญทัน ดอกไธสง. (2564, 9 กรกฎาคม). ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ [สนทนากลุ่มเฉพาะ].

พฤทธ์สรรค์ สุทธิชัยเมธี. (2564, 9 กรกฎาคม). รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก [สนทนากลุ่มเฉพาะ].

พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร. (2564, 9 กรกฎาคม). อาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ [สนทนากลุ่มเฉพาะ].

พัชรี ชำนาญศิลป์. (2557). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพเขตภาคเหนือตอนล่าง. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิมพ์พิสุทธิ์ อ้วนล้ำ และคณะ. (2560). การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการน้ำสู่ความเข้มแข็งของชุมชนและพึ่งตนเองด้านแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน (Ground water bank) บ้านค้ากลาง ตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

รัฐพล เย็นใจมา. (2564, 9 กรกฎาคม). อาจารย์ประจำหลักสูตร ภาควิชารัฐศาสตร์ [สนทนากลุ่มเฉพาะ].

ลำพอง กลมกูล. (2564, 9 กรกฎาคม). อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ และรักษาการผู้อำนวยการ ส่วนวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ ศูนย์อาเซียนศึกษา [สนทนากลุ่มเฉพาะ].

วรุตม์ ทวีศรี. (2557). การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักธรรมเพื่อการพัฒนาสู่องค์การประสิทธิภาพสูงของหน่วยงานวิจัยและพัฒนาในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเดช สีแสง. (2545). ภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์ จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: โรงพิมพ์ดีดีการพิมพ์.

สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์. (2550). หลักการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น.

สุวัฒน์ อินทรประไพ. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำป่าสัก. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2564, 9 กรกฎาคม). อาจารย์ประจำหลักสูตร ภาควิชารัฐศาสตร์ [สนทนากลุ่มเฉพาะ].

Sonwa, S., et al.(2018). The Process of Human Resource Development to Become a Democratic Community:A Case Study of Excellent Democratic Communities in Kham Khuean Kaew District, Yasothon Province, Thailand. Asian Political Science Review, 2(1),73-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite

สันตินิยม ป. ., สุยะพรหม ส. ., & สุขเหลือง เ. . (2022). รูปแบบการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วมอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(3), 126–138. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/254223