พุทธบูรณาการเพื่อการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
พุทธบูรณาการ, การบริหารจัดการ, ศาสนสมบัติของวัดในพระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปฏิบัติการกระบวนการในการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในพระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ และนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในพระพุทธศาสนา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ กับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 ท่าน และงานวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ กับประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 324 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับปฏิบัติการในการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในพระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.96 , S.D. = 0.740) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. กระบวนการจัดการศาสนสมบัติของวัดเป็นงานที่ละเอียดอ่อนเป็นตัวหลักของการคณะสงฆ์ แต่ผู้ปฏิบัติโดยตรงคือเจ้าอาวาสชึ่งเป็นพระสังฆาธิการระดับวัด เจ้าคณะทุกส่วนทุกชั้นต้องมีความสัมพันธ์กัน 2 ประการ คือ (1) ควบคุมการจัดการศาสนสมบัติ ได้แก่ 1) ควบคุมการทำแผนผังวัดให้สอดคล้องกับยุคพัฒนา 2) ควบคุมแบบแปลนเสนาสนะแต่ละวัด ให้อยู่ในหลักประหยัดและพอเหมาะพอควรแก่สภาพท้องถิ่น และให้ก่อสร้างตามแบบแปลน (2) ส่งเสริมการจัดการศาสนสมบัติ ได้แก่ 1) ออกตรวจตราเยี่ยมเยียนเจ้าอาวาสผู้เร่งรัดการพัฒนาวัด 2) แก้ไขข้อขัดข้องของเจ้าอาวาส
3. พุทธบูรณาการเพื่อการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นฉันทะ (วางแผน) ได้แก่ มีการวางแผนจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาวัด มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน จัดประชุมเจ้าอาวาสและไวยาวัจกรเพื่อชี้แจงการจัดทำเอกสาร รวมถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการด้านศาสนสมบัติขึ้นหนึ่งชุดทำหน้าที่ในการชี้แจง ควบคุมการดำเนินการ งานด้านศาสนสมบัติ ขั้นวิริยะ (ลงมือทำ) ได้แก่ ดำเนินการตามแผนแม่บทฯ จัดประชุมชี้แจงเจ้าอาวาสให้ทราบถึงแม่แบบที่กำหนด ให้แต่ละวัดดำเนินการตามแบบบัญชีที่กำหนด จัดทำระบบการจัดเก็บเอกสารให้เจ้าอาวาสนำไปปฏิบัติ ออกตรวจตราเยี่ยมเยียนเจ้าอาวาส ขั้นจิตตะ (ตรวจสอบ) ได้แก่ ตรวจสอบผลการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ มีคณะกรรมการจัดจ้างและตรวจรับงาน เปิดโอกาสให้ประชาชนตรวจสอบได้ แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบผลการดำเนินการ ให้แต่ละวัดส่งบัญชีเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง กำหนดให้เจ้าอาวาสรายงานผลการดำเนินการในรอบปี เพื่อตรวจสอบ มีการตรวจสอบผลการจัดการศาสนสมบัติของวัดว่าเป็นไปตาม กฎ กระทรวง หรือไหม จัดทำรายงานผลการส่งเสริมการจัดการศาสนสมบัติ สำรวจความพึงพอใจของพระสังฆาธิการ ขั้นวิมังสา (ปรับปรุงแก้ไข) ได้แก่ แก้ไขปรับปรุงแผนแม่บทให้ทันสมัย แก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน หากวัดใดดำเนินการไม่ถูกต้อง ก็ให้กลับไปดำเนินแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง พัฒนาระบบจัดเก็บเอกสารให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ แก้ไขข้อขัดข้องของเจ้าอาวาส ให้ถูกต้องตาม กฎ กระทรวง
References
Secretariat of the Sangha Sangha. (2011). Monk's manua.l Bangkok: National Bureau of Buddhist Printing.
Sis Phanphinit. (2004). Ted Nick, research in equality science. Bangkok: The Tuning Company Limited,
Suwari Siriphokhaphirom. (2003). Educational Research. Lopburi: Department of Printing Documents, The Rajabhat Institute.
Wichian Witthayaudom. (2010). Organization and management. Bangkok: Thanadatch Printing Co., Ltd.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น