ผลสัมฤทธิ์ของโครงการศีลห้าในอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์

Authors

  • กาญจนา บุญเรือง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุริยา รักษาเมือง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Keywords:

ผลสัมฤทธิ์, โครงการรักษาศีล ๕

Abstract

บทความนี้วัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรในการวิจัยคือ ประชาชนในตำบลบ้านยาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ในการวิจัย จำนวน 8,611 คนคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.804 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป และ ทดสอบสมมติฐานเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลโดย การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาพรรณนาเป็นความเรียง (Content Analysis Technique)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.29, S.D. = 0.355) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสังคมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.31, S.D. = 0.433) และ ด้านชุมชนอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.30, S.D. = 0.473) รองลงมา คือ ด้านศีลธรรมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.28, S.D. = 0.448) และ ด้านครอบครัวอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.25, S.D. = 0.488) ตามลำดับ
2. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.25, S.D. = 0.389) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.31, S.D. = 0.482) รองลงมา คือ ด้านการแก้ไขปรับปรุง อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.24, S.D. = 0.496) ด้านการตรวจสอบ อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.23, S.D. = 0.429) และ ด้านการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.22, S.D. = 0.457)
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ปัจจัย ด้านการการแก้ไขปัญหา (X4) ด้านการปฏิบัติ (X2) และด้านการตรวจสอบ (X3) ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของของโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธ์การพยากรณ์ (Adjusted R2) เท่ากับ 0.588 สามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ได้ร้อยละ 58.80
4. แนวทางในการพัฒนาโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ควรมีการวางแผนที่ชัดเจนที่นำไปสู่การปฏิบัติที่ดี ควรมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้นำควรส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมมีกำลังใจการทำกิจกรรม และผู้นำควรมีความรับผิดชอบในการบริหารจัดการที่ดีและกำกับติดตามอยู่เสมอ

References

Daniel L. Stufflebeam, ‎Chris L. S. Coryn. (1985). Educational Evaluation and decisionMaking. Ohio State Univ.
Gary D. Bouma. (2010). Religious Diversity in Southeast Asia and the Pacific.
Dordrecht: Springer Netherlands.
Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2013). Buddhadhamma. (Bangkok:
Sahadhammika Press
Phrakhruwinaithorn Anek Tejavaro (Yai-in). (2016). The administrative project of five precepts for building joined living cultural under propel in the model communities in lower northern region. (Dissertation of Philosophy). GraduateSchool: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phramaha Krisada Kittisobhano (Saelee). (2016). Building the Reconciliation by be driven with Five Precepts Village Project in Ayutthaya Province
(Research paper). Buddhist Institute of Mahachulalongkorn-
rajavidyalaya University
Taro Yamane. (1967). Statistics; an introductory analysis. New York: Harper and Row.
Terry Martin. (2003). Coastal Planning and Management Manual. Perth: Albert Facey
House Press.
Westland. (2006). The project management life cycle. London: Designs and Patents Act.
Wilaiporn Unchaoban. (2011). The Study of the behavior of The Application of TheFive Precepts to Daily Life for the Executives and the Members of Sub-District Administration, Taphanhin District, Phichit Province (Master of Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya
University.

Downloads

How to Cite

บุญเรือง ก. ., ดอกไธสง บ. ., & รักษาเมือง ส. . . (2020). ผลสัมฤทธิ์ของโครงการศีลห้าในอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์. Journal of MCU Social Science Review, 7(2-2), 39–53. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245684