การพัฒนารูปแบบเพื่อสนับสนุนการมีธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน

ผู้แต่ง

  • เจริญพงษ์ ศุภธีระธาดา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พรชัย เทพปัญญา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ธรรมาภิบาล กระบวนการงบประมาณแผ่นดิน ธรรมาภิบาลของกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน รูปแบบเพื่อสนับสนุนการมีธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบเพื่อสนับสนุนการมีธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดินที่เหมาะสมกับบริบทของการบริหารจัดการภาครัฐของไทย และ 2) ประเมินความเป็นไปได้ของการนารูปแบบเพื่อสนับสนุนการมีธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดินไปใช้กับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และใช้วิธีการวิจัยแบบพหุวิธี (Multi Methods) มีการดาเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) : ศึกษาข้อมูล เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสังเคราะห์และนามาออกแบบยกร่างรูปแบบเพื่อสนับสนุนการมีธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) พัฒนาร่างรูปแบบให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการด้านธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน ตลอดจนมีความเหมาะสมกับบริบทของการบริหารจัดการภาครัฐของไทย โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) ทดลองใช้รูปแบบกับหน่วยงานนาร่องและเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) ประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมของรูปแบบโดยใช้การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เพื่อนาข้อเสนอแนะมาพัฒนารูปแบบให้มีความเหมาะสมกับการนาไปใช้กับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ของรัฐ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบเพื่อสนับสนุนการมีธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดินที่เหมาะสมกับบริบทของการบริหารจัดการภาครัฐของไทยและมีความเป็นไปได้ในการนาไปใช้กับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ มีองค์ประกอบได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ประเด็นนาทาง 23 ประเด็นและแนวทางเพื่อสนับสนุนการมีธรรมาภิบาล 76 ข้อ 2) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนโยบาย ควรกาหนดให้การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดินเป็นนโยบายสาธารณะและหรือเป็นวาระแห่งชาติ ควรมีกลไกหรือหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบการขับเคลื่อนการสร้างธรรมาภิบาล ควรสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการสร้างธรรมาภิบาล และควรมีการพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงบประมาณให้สอดคล้องและรองรับการสนับสนุนการมีธรรมาภิบาล 2) ด้านการนาไปปฏิบัติ ควรสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับธรรมาภิบาล ควรขับเคลื่อนการนารูปแบบไปใช้ในเชิงรุก ควรกาหนดเป้าหมายและวางแผนการขับเคลื่อนรูปแบบอย่างมุ่งเป้า ควรจัดทาคู่มือการใช้งานรูปแบบ และควรติดตามผลและประเมินผลการนารูปแบบไปใช้งาน 3) สาหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์การประเมินผลการมีธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณ และควรวิจัยในกลุ่มตัวอย่างอื่นหรือในเชิงกว้างหรือเชิงลึกเพื่อพัฒนารูปแบบให้เกิดความสมบูรณ์

References

Jaras Suwanwela. (2546). Blind Spot on The Road to Good Governance: The Roles of Public Organization Board. Bangkok: Tana Press and Grafiics. kritsada Haiwatthananukun.(2558).The Development of The Administration Based on Good Governance of the Independent Commission on Environment and Health (ICEH). Journal OF MCU Social Science Review, 4(3), 121 – 138. Sanor Unakul. (2556).Technocrat Power: Through the Life and Work of Sanor Unakul. Bangkok: Matichon Press. Tawindee Burikul. (2552). Local Good Governance: Lessons from Abroad. Bangkok: Dhammada Press. Thitiwut Manmee. (2559). The Human Capital Management Supporting The Merit and Ethicist of Staffs In Local Administration Organization. Journal of MCU Social Science Review, 5(2), 425 – 442.

เผยแพร่แล้ว

2020-08-01

How to Cite

ศุภธีระธาดา เ. ., & เทพปัญญา พ. (2020). การพัฒนารูปแบบเพื่อสนับสนุนการมีธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 211–232. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245586