การนาเศรษฐกิจพอเพียง : เป็นแสงนาทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในชุมชนบ้านสะพานผัก

ผู้แต่ง

  • กมลพร กัลยาณมิตร มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

เศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “การนาเศรษฐกิจพอเพียง : เป็นแสงนาทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชนบ้านสะพานผัก” มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของประชาชนในการนาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแสงนาทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชนบ้านสะพานผัก 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแสงนาทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชนบ้านสะพานผัก 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนในการนาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแสงนาทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชนบ้านสะพานผัก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรและเป็นหัวหน้าครัวเรือน จานวน 35 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับวิธีการสังเกต ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) และนาเสนอผลการศึกษาในรูปแบบพรรณนา ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ 1. ชุมชนบ้านสะพานผัก ในสภาพปัจจุบันได้นาหลักเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาปฏิบัติในชุมชนในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน เป็นการขยายการรวมกลุ่มที่มากขึ้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดาริเป็นหลักการที่มุ่งเน้นให้เรามีความพออยู่พอกิน โดยให้เลี้ยงตนเองได้อย่างแข็งแรง และความร่วมมือร่วมใจของชุมชน 2. ปัญหา อุปสรรค ของประชาชน ได้แก่ 2.1. ขาดบุคลากรผู้ดาเนินกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน 2.2. ขาดแคลนวิทยากรและผู้รู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะมาให้ความรู้ต่อการนาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการแก้ปัญหา 2.3. ชุมชนบ้านสะพานผักมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับวัตถุประสงค์และความหมายของหลักการที่แท้จริง 3. ข้อเสนอแนะของประชาชน ได้แก่ 1.ควรให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้นาชุมชนและประชาชนในชุมชนโดยการนากรณีตัวอย่างจากชุมชนต่างๆ ที่ประสบผลสาเร็จมาถ่ายทอดประสบการณ์ 2.หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ควรให้การสนับสนุนด้านนโยบายและงบประมาณใน การพัฒนาความรู้เพื่อเป็นองค์ความรู้ในการพัฒนาชุมชนและบุคลากรของชุมชนอย่างต่อเนื่อง 3. ควรส่งเสริมการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจังให้เป็นแนวนโยบายในการขจัดความยากจนของชุมชน 4. ควรหาวิธีส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

References

Jirayu Israngkul Na Ayuthaya and Priyanut Pibulsaravut. (2553). Follow the Father’s Footsteps: Sufficient Life for Sustainable Development. Bangkok: Petrung Printing Center Ltd. Patanaporn Chatvirote. (2545). Teachers’ Role in Enhancing Knowledge of Sufficiency Economy in Secondary Schools (Doctoral Dissertation). Khonkaen: Khonkaen University. Phradhammapidok (P.A.Payutto). (2544). Buddhist Economy. Bangkok: Sukhapapcai Printing Office. Prevet Vasi. (2540). Human Being’s Integrity, Competency of Creativity. Bangkok: Mochaoban (Folk Doctor) Printing Office. Seri Pongpit. (2549). Sufficiency Economy and Sustainable Development. Bangkok: Chareonvit Printing. Sumet Tantivetchakul. (2549). Application of Sufficiency Economy Philosophy. Bangkok: Department of Community Development. Sunai Setboonsarng. (2551). Learning Together Towards Sufficiency Economy. Bangkok: Farapai Ltd. Suntorn Kulvatanapong. (2544). Follow The Royal Initiatives of Sufficiency Economy - New Theory. Bangkok: Printed by Children Forum (Chomromdek). Suvit Mekincee. (2549). Thailand’s Shift by Sufficiency Economy in The Globalization Stream. Bangkok: Siam M. and B. Publishing Ltd. Wanmaka Kaorndocmai.(2559). Sufficiency Economy Village Administration: Problems and Discontinuity. Journal of MCU Social Science Review, 5(3), 125-132.

เผยแพร่แล้ว

2020-08-01

How to Cite

กัลยาณมิตร ก. . (2020). การนาเศรษฐกิจพอเพียง : เป็นแสงนาทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในชุมชนบ้านสะพานผัก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 197–208. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245584