ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการตรวจสอบภายใน ของมหาวิทยาลัยในกากับของรัฐ
คำสำคัญ:
การตรวจสอบภายในสมัยใหม่ ประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์คือ (๑) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (๓) เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยด้านบุคคลและด้านการตรวจสอบภายในสมัยใหม่ที่มีต่อประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และ (๔) เพื่อศึกษารวบรวมปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้รับตรวจและกลุ่มผู้ตรวจสอบภายใน จำนวน ๓๙๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน การใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ผู้บริหารแบบ
กึ่งโครงสร้าง ผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test (ANOVA) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ในการวิเคราะห์แปลผลและนำเสนอผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุมากกว่า ๔๐ ปี สมรส ระดับการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิชาบัญชี เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานปฏิบัติการ มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า ๑๐ ปีขึ้นไป และมีหน้าที่ปฏิบัติงานในปัจจุบันด้านการตรวจสอบภายใน โดยมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับปัจจัยการตรวจสอบภายในสมัยใหม่โดยรวมอยู่ในระดับสูงทุกด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนางานให้ทันสมัยและตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กรด้านการตรวจสอบตามผลการประเมินความเสี่ยง ด้านการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมและการประเมินผลตนเอง ด้านการตรวจสอบในเชิงรุกแบบก้าวหน้าและสร้างสรรค์ และมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในโดยรวมอยู่ในระดับสูง ตามลำดับดังนี้ ด้านการลดโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียจากการดำเนินงาน ด้านการควบคุมภายในที่ดี ด้านการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ และด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านบุคคลเกี่ยวกับเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาสูงสุด สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา สถานภาพการทำงาน ตำแหน่งงานในปัจจุบัน ประสบการณ์การทำงานแตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในที่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ และปัจจัยด้านบุคคลเกี่ยวกับหน้าที่ปฏิบัติงานในปัจจุบันแตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในที่ไม่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ด้านการตรวจสอบภายในสมัยใหม่ พบว่า ด้านการพัฒนางานตรวจสอบให้ทันสมัยและตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กร ด้านการตรวจสอบตามผลการประเมินความเสี่ยง
ด้านการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมและการประเมินผลตนเอง และด้านการตรวจสอบในเชิงรุกแบบก้าวหน้าและสร้างสรรค์ มีผลต่อประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนในด้านปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ พบว่า ปัญหาจากการตรวจสอบภายใน บุคลากรมีจำนวนน้อยกว่าปริมาณงาน ผู้ตรวจสอบภายในขาดความรู้ ไม่มีการพัฒนา อุปสรรค คือ สถานที่-เวลาของหน่วยรับตรวจไม่เอื้ออำนวย ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ข้อเสนอแนะคือ ทีมตรวจสอบภายในควรเรียนรู้พัฒนาเทคนิคใหม่ เร่งสร้างบุคลากรให้มีทักษะ เชี่ยวชาญ ควรวางแผนการดำเนินงานอย่างมีกลยุทธ์รัดกุม รายงานผลการตรวจสอบให้ทันท่วงทีไม่ล่าช้า
References
Nantawan Wannadee.(2545). Factors Affecting Duty Performance of Internal Auditing Personnel of Ministry of Education (Master’s thesis). Nonthaburi: Sukhothaitammatirat open University.
Phuriwat Punyawuthiprida. (2556). Legal Measures Concerning Guarantee and Protection of Disabled Persons’ Rights on Performance and Working to Employers. Journal of MCU Social Science Review, 2(2), 178 – 192.
Supot Suntornpornsilp. (2546) .Internal Auditing Accecptance in The View of Members of Internal Auditing Association of Thailand (Master’s Thesis). Bangkok: Srinakarinvirot University,
Tanapakorn Hattasilp. (2556). Effects of New Internal Audits Towards the Success of New Internal Audit of Local Administrative Organizations in Northeast Region (Master’s Thesis). Mahasarakam: Mahasarakam University.
Ussana Patramontree. (2558). New Internal Audit. (4th edition), Bangkok: Jamjuree Products.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น