การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดท่องเที่ยวเมืองสามพราน เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
คำสำคัญ:
หนังสือส่งเสริมการอ่าน การอ่านจับใจความสำคัญบทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านชุด ท่องเที่ยวเมืองสามพราน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านชุดท่องเที่ยวเมืองสามพราน และ ๓) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านชุดท่องเที่ยวเมืองสามพราน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนนาคประสิทธิ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๔๐ คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) กำหนดระยะเวลาในการทดลอง ๒ สัปดาห์ สัปดาห์ละ ๔ ชั่วโมง รวม ๘ ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดท่องเที่ยวเมืองสามพราน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านชุดท่องเที่ยวเมืองสามพราน
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย( )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent)
ผลการวิจัยพบว่า :
๑. หนังสือส่งเสริมการอ่านชุดท่องเที่ยวเมืองสามพราน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๑๖๓/๘๒.๖๗
๒. ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕
๓. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านชุดท่องเที่ยวเมืองสามพราน ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
References
Banjong Vansuriya. (2530). Free Selective Science Subject Production in Accordance With 2551 First Secondary Education Curriculum (improved 2533) by using local knowledge in Lampang Province (Master’s thesis). Chiengmai: Chiengmai University.
Nawaphon Kopwitthayakun. (2558). Model of Participation of Reading Habits Activity Supporting For Primary School. Journal of MCU Social Science Review, 5(2), 233 – 244.
Noppawan Sirivejjakul and Panboon Sirivejjakul. (2548). Sort Stories for Children and Youth. Bangkok: Max Printing house.
Pannee Ch,Jenjit. (2550). Learning and Teaching Psychology. Nantaburi: Geat Education.
Phramaha Kamphon Khunangkaro. (2559). Human Resource Development In Buddhist Approach. Journal of MCU Social Science Review, 5(2),
387 – 396.
Rungnapa Issarent. (2555). Story Book Development for Teaching 10 National Health Principles to the 5th Grade Elementary Students of Wat Klangbangkaew School,Nakornpatom (Master’s Thesis). Nantaburi: Sukhothaitammatirat Open University.
Sunanta Mansettavit. (2543). Principle and Method of Reading Thai Language. Bangkok: Thaiwattanapanich.
Vaewmayura Muannin. (2541). Reading for Main Ideas. Bangkok: Chomromdek Printing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น