Sociology จัดระเบียบผี จัดระเบียบคน
คำสำคัญ:
Sociology, จัดระเบียบผี, จัดระเบียบคนบทคัดย่อ
ท่ามกลางทะเลแห่งความเชื่อ คตินิยม ประเพณี และวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนามหายาน (นิกายตันตระ) และศาสนาฮินดู พระเจ้าอโนรธามังช่อ เป็นกษัตริย์พม่าพระองค์แรกที่รวบรวมและปกครองกลุ่มคนและดินแดนที่สำคัญของลุ่มแม่น้ำอิระวดีไว้ได้ทั้งหมด มาบัดนี้พระองค์ได้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และได้สร้างเอกภาพความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมให้กับสังคมพุกามแล้ว
ก่อนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทจะเข้ามาสู่อาณาจักรพุกาม เดิมที่ชาวพม่าได้รับอิทธิพลพระพุทธศาสนามหายาน (นิกายตันตระ) เมื่อครั้งที่ตั้งถิ่นฐานที่ยูนนานทางตอนใต้ของจีน ซึ่งบริเวณนี้เป็นเขตอิทธิพลของพระพุทธศาสนามหายาน (นิกายตันตระ) อยู่ก่อนแล้ว เมื่อชาวพม่าอพยพลงมาทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำอิระวดีได้รับอิทธิพลพระพุทธศาสนามหายาน (นิกายตันตระ) เผยแผ่มาจากทางตอนเหนือของอินเดียผ่านมาทางเบงกอล และผ่านเข้ามาทางตอนเหนือของพม่าในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ สมัยพุกามเรียกพระสงฆ์นิกายนี้ว่า “พระสงฆ์นิกายอารี” คัมภีร์ศาสนวงศ์ เรียกพระสงฆ์พวกนี้ว่า “สมณกุตตกะ” พระสงฆ์และชาวพม่าในสมัยหลังมองพระสงฆ์นิกายอารีว่า พระสงฆ์นิกายอารีนิยมที่จะปฏิเสธคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และถือปฏิบัติตามแนวทางของตนเอง
พระเจ้าอโนรธามังช่อ ไม่ทรงพอพระทัยในศาสนาที่ประชาชนนับถืออยู่ในขณะนั้นซึ่งเป็นศาสนาที่มีส่วนผสมปนเปของหลักในพระพุทธศาสนามหายาน (นิกายตันตระ) กับความเกรงกลัวอำนาจธรรมชาติแบบพื้นเมือง คือการนับถือนัต ๓๖ องค์ ดังนั้น พระองค์จึงทรงต่อต้านอำนาจและชื่อเสียงของพระสงฆ์นิกายอารีและบรรดานัตทั้งหลายซึ่งพระองค์ไม่เห็นด้วย โดยการจัดระเบียบสังคมทั้งผี ทั้งคน เปลี่ยนสถานภาพของนัตซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงผี วิญญาณความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติให้เป็นเทวดาในความเชื่อพระพุทธศาสนา และแต่งตั้งให้พระอินทร์ซึ่งเป็นเทวดาในพระพุทธศาสนาให้เป็นหัวหน้าของนัต ๓๖ องค์ แล้วอัญเชิญนัตทั้ง ๓๗ องค์ ไปประดิษฐานที่รอบๆ เจดีย์ชเวซิกอง และทรงนำพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเข้ามาทำลายอิทธิพลของพระสงฆ์นิกายอารี โดยทรงโปรดให้พระชินอรหันต์สังคายนาคณะสงฆ์ในพุกาม เพื่อให้พระสงฆ์เหล่านั้นปฏิบัติตนเคร่งครัดในหลักธรรมวินัยของพุทธศาสนานิกายเถรวาท และทรงเปลี่ยนความเชื่อที่ว่ากษัตริย์เป็นสมมุติเทพปกครองแบบเทวราชา เป็นปกครองแบบธรรมราชา และได้รับชัยชนะที่เรียกว่า “ธรรมวิชัย”
References
(๑) หนังสือ:
บุญยงค์ เกศเทศ. อรุณรุ่งฟ้าฉาน เล่าตำนานคนไท. กรุงเทพมหานคร: หลักพิมพ์, ๒๕๔๘.
พระปัญญาสามี. ศาสนาวงศ์. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, ๒๕๐๖.
พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์). มหาวงศ์. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, ๒๕๓๔.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับบมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
สุรพงษ์ ลือทองจักร. หลักมานุษยวิทยาและหลังสังคมวิทยา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, ๒๕๕๒.
หม่องทินอ่อง. ประวัติศาสตร์พม่า. แปลโดย พัชรี สุมิตร. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๙.
๒. ภาษาอังกฤษ
(I) Book:
Broom, Leonard & Selznick, Philip. Sociology. New YorK: Harper and Row Publishers, 1979.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น