รูปแบบการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
คำสำคัญ:
รูปแบบการมีส่วนร่วม, กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องในการสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา ๒) สร้างและนำรูปแบบการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านไปทดลองใช้ ๓) ประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ผู้วิจัยเจาะจงเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหาร ๑๔ คน ครู ๒๐ คนและ ผู้ปกครอง ๒๐ คนสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร ๑๔ คน ครู ๒๐ คน ผู้ปกครอง ๗๖ คน และนักเรียนชั้นประถมปีที่ ๓ โรงเรียนสากลศึกษา ๔๐ คน และโรงเรียนมารีย์วิทยา ๓๖ คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบสอบถามแบบวัดนิสัยรักการอ่าน แบบวัดความพึงพอใจและแผนการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ๑. ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องในการสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านได้แก่ ๑) ด้านผู้มีส่วนร่วมประกอบด้วยผู้บริหารครู ผู้ปกครองและนักเรียน ๒) ด้านกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านประกอบด้วยกิจกรรมเร้าโสตประสาทกิจกรรมเร้าจักษุประสาท กิจกรรมเร้าโสตประสาทและจักษุประสาทและกิจกรรมที่นักเรียนมีส่วนร่วม ๓) ด้านการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนและที่บ้าน ๒.การสร้างและนำรูปแบบการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านไปทดลองใช้ พบว่า ๑)การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ ๕ แผน ได้แก่ บิงโกคณิตศาสตร์ การอ่านสลากกินแบ่งรัฐบาล การใช้ปทานุกรม การอ่านนิทานภาษาอังกฤษ และชนิดของคำนาม ๒) รูปแบบการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านมี ๔ รูปแบบ ได้แก่ แบบ A ผู้บริหารกับครู แบบ B ครูกับนักเรียน แบบ C นักเรียนกับผู้ปกครอง แบบ D ผู้บริหารกับผู้ปกครอง ผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ผู้บริหารและครู มีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียน ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่บ้าน ๓) ผลการทดลองพบว่านักเรียนของทั้งสองโรงเรียนมีระดับนิสัยรักการอ่านโดยรวมเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับมาก ๓. การประเมินความพึงพอใจในการทดลองใช้รูปแบบพบว่าผู้บริหารมีความพึงพอใจการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านระดับมากที่สุด ครู นักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจระดับมาก ผู้วิจัยพบว่ามีปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ได้แก่การใช้สื่อการสอนและการสร้างแรงจูงใจ
References
(๑) หนังสือ
ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์. การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพมหานคร: บูรพสาส์น, ๒๕๔๒.
นภัทร์ แก้วนาค. เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยเชิงคุณภาพ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีนิพนธ์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖.
แม้นมาส ชวลิต. กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, ๒๕๔๖.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ผลการประเมิน PISA ๒๐๑๒.กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์, ๒๕๕๗.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ.๒๕๕๑. กรุงเทพมหานคร :สำนักงานสถิติเศรษฐกิจสังคมและประชามติ, ๒๕๕๒.
(๒) วารสาร
สุมาลี สังข์ศรี. “การประเมินผลการนำนโยบายการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสู่การปฏิบัติระดับประถมศึกษาทั้งในโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน”. วารสาร มฉก.วิชาการ. ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๓๒ (มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๖).
(๓) วิทยานิพนธ์
กาญจนา ทันอินทร์อาจ.“อิทธิพลคุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีต่อนิสัยการอ่านขอนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลับเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๐.
ศศิธร อินตุ่น. “การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ ๒”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๐.
สุนทรา โตบัว. “การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๐”. รายงานวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๕๑.
อรศรี งามวิทยาพงศ์ และคณะ. “ปัจจัยที่เอื้อและเป็นอุปสรรคต่อการ สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน”. รายงานการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เม็ดทราย, ๒๕๕๔.
(๔) เว็บไซด์
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). ผลสำรวจความคิดเห็นของเด็กเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่มีอายุระหว่าง ๖-๑๓ ปี ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ มีนาคม ๒๕๕๗.[ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.thaihealth.or.th/Content/23666. [๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น