กระบวนการให้ความคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ในภูมิปัญญาพื้นบ้านและอัตลักษณ์ลวดลายผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา ดิษฐบรรจง มหาวิทยาลัยสารคาม
  • ชำนาญ โรจน์เดชไบ มหาวิทยาลัยสารคาม

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาพื้นบ้านลวดลายผ้า, ลิขสิทธิ์, อัตลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาความเป็นมาและอัตลักษณ์เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านลวดลายผ้า  (๒) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และข้อเสนอแนะในการอนุรักษ์ สืบสานลวดลายผ้า (๓) ศึกษากระบวนการผลิตลวดลายผ้าทอ และกระบวนการให้ความคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ในภูมิปัญญาพื้นบ้านลวดลายผ้าของชาวไทยทรงดำ จังหวัดสุพรรณบุรี  กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง  ประกอบด้วย ผู้รู้  ผู้ปฏิบัติ  และประชาชนทั่วไปที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น ๘๐ คน ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่มและการประชุมเชิงปฏิบัติการ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามความมุ่งหมาย  โดยใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า ลวดลายและสีสันบนผืนผ้าทอของชาวไทยทรงดำ  สามารถสื่อความหมายที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อ และประเพณี ด้านปัญหาอุปสรรคในการอนุรักษ์     สืบสานลวดลายผ้า พบว่า คนรุ่นใหม่ไม่ให้ความสนใจอาชีพทอผ้า เนื่องจากมีรายได้น้อย 

การให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาพื้นบ้านผ้าทอ “ลายหยาเฮือน” และ “ลายดอกพุ่มสวรรค์” เจ้าของลวดลายดำเนินการยื่นคำขอจดแจ้งภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย และขอจดแจ้งลิขสิทธิ์ ประเภทจิตรกรรม และประเภทศิลปประยุกต์ ต่อสำนักงานลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา

References

Buntoon Sethasirot and Jed Thonavanich. Program of the Seminar on Development of the Roles/Thai Attitude on Local Wisdom Protection. Bangkok : Department of International Economy, May 2548. (copy document)
Buntoon Sethasirot and Jed Thonavanich. Research Study Report on the Protection of Local Wisdom in the International Situation. Bangkok : Department of Economy Ministry of Foreign Affairs, 2548.
Ekavit Na Thalang and Team. Local Wisdom and Knowledge Management. Bangkok: Amarin Printing, 2546.
Jureewan Chanpla and Team. Research Study on Development of Fabric Weaving Products of Thai Song Dum in Oder to Raise the Value of the Product in Accordance with the Creative Economy. Bangkok : Department of Cultural Promotion, 2554.
Kritsada Disbanjong. Development of the Processes for Supporting Copyright Protection of Local Folk Wisdom and Fabric Pattern Identity of Thai Song Dum Ethnic Group in Suphun Buri Province. Ph.D. Dissertation, Cultural Sciences. MahasarakarmUniversity, 2558.
Manoo Udomvet. Thai Fabric : Thai Song Dum Fabric and Migration. Bangkok : Office of the National Cultural Committee, 2537.
Ratchapol Patpiboon. Process for Transferring the Cultural Style of Fabric Weaving of Thai Song Dum Ethnic Group. Master’s Degree Thesis in Non-Formal Education Chiang Mai University, 2538.
Songkhun Chanthajon. Cultural Theory and Society. Mahasarakarm : Mahasarakarm University Print, 2553.
Sootket Boriboonsri. The Local Wisdom. Bangkok : DarnSutha Print, 2555.
Voraphol Poonpanich. The Protection According to the Concept of Local Wisdom. Master of Law Thesis. Law Department Chulalongkorn University, 2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-04-15

How to Cite

ดิษฐบรรจง ก., & โรจน์เดชไบ ช. (2015). กระบวนการให้ความคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ในภูมิปัญญาพื้นบ้านและอัตลักษณ์ลวดลายผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 204–216. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245472