รูปแบบเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
จังหวัดขอนแก่น, ทุนนิยม, รูปแบบเศรษฐกิจชุมชน, เศรษฐกิจชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของวิถีเศรษฐกิจชุมชนภายใต้ระบบทุนนิยมที่จังหวัดขอนแก่นโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจชุมชนการศึกษา การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามระดับครัวเรือนทุกชุมชนจำนวนทั้งหมด ๔๖๑ ครัวเรือนและใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ๑๐๗ รายผลการศึกษาพบว่า ช่วงเริ่มแรกของเศรษฐกิจชุมชนอยู่ในรูปแบบเกษตรยังชีพที่ปลูกข้าว ฝ้ายและปอเป็นหลักควบคู่ไปกับการทำงานรับจ้างทั่วไป จนกระทั่งได้มีรถไถนาและการใช้สารเคมีเข้ามาช่วยผลิตจึงส่งผลให้วิถีการเกษตรเปลี่ยนไปเป็นการเกษตรเพื่อการค้า ในขณะเดียวกันการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเป็นถนนลาดยางก็ส่งผลให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างชุมชนมากขึ้นจึงส่งผลต่อแรงงานบางส่วนของชุมชนได้เดินทางออกไปทำงานยังต่างถิ่นแบบเต็มเวลา ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระดับการศึกษาของคนรุ่นใหม่ได้ส่งผลต่อวิถีเศรษฐกิจชุมชนให้เข้าสู่การประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรมากขึ้นดังเห็นได้จากคนรุ่นใหม่ที่ไปทำงานเป็นลูกจ้างตามบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรมทั้งในขอนแก่น กรุงเทพฯและชลบุรีทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดขอนแก่นเป็นการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบริบทด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของทุนนิยมของแต่ละช่วงเวลาและยังแสดงว่าทรัพยากรภายนอกมีความสำคัญต่อการการปรับเปลี่ยนวิถีเศรษฐกิจชุมชนดังกล่าว
References
(๑) หนังสือ:
ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๒.
วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. แนวคิดเศรษฐกิจชุมชนข้อเสนอทางทฤษฎีในบริบทต่างสังคม. กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์, ๒๕๕๐.
สุวิทย์ธ รีศาศวัต. เศรษฐกิจอีสานหลังมีทางรถไฟ (พ.ศ. ๒๔๔๓-๒๔๘๘). ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๕๑.
๒.ภาษาอังกฤษ
(I) Book:
Mason, D. R., & Beard, V. A.. “Community-Based Planning and Poverty Alleviation in Oaxaca, Mexico”. Journal of Planning Education and Research, 27 (3), 2008.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น