ปัจจัยภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์เดช สังคพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • วิทยา เจริญศิริ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ทรงศักดิ์ จีระสมบัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ปัจจัยภาวะผู้นำ, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณบดี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นของปัจจัยภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการยืนยัน (ประเมิน) รูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แบบสอบถามที่ได้รับคืนจากคณาจารย์คณะวิชาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๔๓๕ ชุด  การวิเคราะห์ปัจจัยภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณบดี โดยวิธีวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Casual Correlation) และสำหรับการยืนยัน (ประเมิน) รูปแบบเครื่องมือที่ใช้ คือ การจัดสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

          ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่าตัวแปรสาเหตุ
ทุกตัวมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณบดีในระดับปานกลาง การวิเคราะห์ปัจจัยภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณบดี โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อนำผลที่ได้ข้างต้นเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญ ๒๔ คน ยืนยัน (ประเมิน) รูปแบบ ปรากฏว่ารูปแบบที่พบมีความเหมาะสม เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน ๔ ด้าน ได้แก่ การใช้ประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง

References

๑. ภาษาไทย
(๑) หนังสือ:
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. ภาวะผู้นำร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน, ๒๕๕๗.
วรเดช จันทรศร. ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร: สมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย, ๒๕๕๖.
วิโรจน์ สารรัตนะ. กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธ์, ๒๕๕๖.
ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔.
สัมมา รธนิธย์. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง, ๒๕๕๖.
อมรวิชช์ นาครทรรพ. อุดมศึกษาไทยในรอบศตวรรษ: จากโอกาสและความหลังในอดีตสู่วิกฤตคุณค่าปริญญาในยุคอุดมศึกษาประชานิยม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, ๒๕๕๖.
(๒) วิทยานิพนธ์/รายงานวิจัย:
เกียรติกำจร กุศล. “รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำของคณบดี สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาการอุดมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ๒๕๔๓.
จรุณี เก้าเอี้ยน. “รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นขององค์ประกอบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานของคณบดีในมหาวิทยาลัยราชภัฏ”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ๒๕๕๓.
สุวัฒนา ตุ้งสวัสดิ์. “ปัจจัยภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณบดีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาภาวะผู้นำทางการบริหารศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, ๒๕๕๖.
อนุชา ถอนพ่วง. “การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน”. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร, ๒๕๕๐.

๒. ภาษาอังกฤษ
(I) Book:
Bass, Barnard M. Stogdill’s. Handbook of Leadership: A Survey of Theory and Research. Rev. ed. New York: The Free Press, 1981.
Hoy, W. K., and Miskel, C. Educational Administration: Theory, Research, and Practice. 3rded. New York: Random House, 2001.
Yukl, G. Leadership in Organizations. 5thed. New Jersey: Prentice–Hall, 2002.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-30

How to Cite

สังคพัฒน์ ศ., เจริญศิริ ว., & จีระสมบัติ ท. (2020). ปัจจัยภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(3), 209–220. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245462