รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการพัฒนาประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบูรณาการ, เจ้าหน้าที่เทศกิจกรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังนี้ คือ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจ กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจ กรุงเทพมหานครและ ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจ กรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๒๕ รูป/คนด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง โดยวิธีการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ๔๐๐ คนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เขตราชเทวี เขตปทุมวัน เขตบางซื่อ เขตบางกะปิ เขตบางพลัด เขตภาษีเจริญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจ กรุงเทพมหานคร ด้านการจัดระเบียบ จัดระเบียบตามนโยบายของกรุงเทพมหานครในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนทั่วไปที่ใช้ทางเท้า ให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎ ลดปัญหาทางอ้อม ซึ่งนโยบายของกรุงเทพมหานครมีความชัดเจนในการใช้พื้นที่สาธารณะ ด้านการดูแลความปลอดภัย เป็นการเสริมกำลังตำรวจโดยการออกตรวจพื้นที่ การดูแลความปลอดภัยในลักษณะงานบริการ อำนวยความสะดวก ซึ่งต้องเสี่ยงภัยกับเหตุร้ายในการออกตรวจพื้นที่ทั้งในเวลากลางวันและเวลากลางคืน ด้านการดูแลด้านการจราจร การอำนวยความสะดวกด้านการจราจร เจ้าหน้าที่เทศกิจเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานจราจร ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานจราจร เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติงานจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพราะไม่มีกฎหมายรองรับในการปฏิบัติหน้าที่และควรจัดหาเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ด้านการดูแลการท่องเที่ยว เพื่อการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวและเป็นตัวแทนในการประชาสัมพันธ์ควบคู่กับการดูแลความปลอดภัยและการจัดระเบียบ ไปพร้อม ๆ กัน ด้านภารกิจพิเศษอื่น ๆ เป็นกำลังเสริมและช่วยประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ดับเพลิง หน่วยกู้ชีพ การไฟฟ้า การประปา เป็นต้น
๒. มีการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาโดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า การบูรณาการหลักศีลในการจัดระเบียบ รองลงมาได้แก่ การบูรณาการหลักขันติในการดูแลความปลอดภัย การบูรณาการหลักปิยวาจาในการดูแลการท่องเที่ยว การบูรณาการหลักอัตถจริยาในการดูแลภารกิจพิเศษอื่น ๆ และน้อยที่สุด คือ การบูรณาการหลักเมตตาในการดูแลการจราจร ตามลำดับ
๓. การนำเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจ กรุงเทพมหานคร รูปแบบ “Big CAMP Model” ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรักกรุงเทพมหานครร่วมสร้างกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองที่น่าอยู่และน่าเยือน ดังนี้ ศีล B = Behavior หมายถึง การควบคุมพฤติกรรมทั้งทางกาย วาจา ใจ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการจัดระเบียบเมือง ให้ทุกคนสามารถใช้ที่สาธารณะร่วมกันอย่างปลอดภัย โดยการควบคุมภายในตนของเจ้าหน้าที่ (Internal) เช่น การส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่เทศกิจมีหลักสูตรการเข้าร่วมการอบรมคุณธรรมร่วมกับ มจร. และในการปฏิบัติตนกับบุคคลทั่ว ๆ ไป (General) ขันติ C = Control หมายถึง อดทนต่อความยากลำบากในการออกปฏิบัติงาน อดทนต่อความตรากตรำของสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และอดกลั้นต่อความไม่เข้าใจของผู้ค้าและประชาชน เมตตา A = Action หมายถึง การกระทำที่แสดงออกถึงการให้ความช่วยเหลือ ปรารถนาดี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล เช่น การช่วยจัดจราจรช่วงเช้า-เย็น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชน ปิยวาจา M = Morality หมายถึง การพูดจาสุภาพอ่อนน้อม จริงใจ แนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ สร้างมนุษย์สัมพันธ์กับผู้พบเห็นด้วยความยิ้มแย้ม มีอัธยาศัยดี สามารถประชาสัมพันธ์แนะนำเส้นทาง และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ให้กับนักท่องเที่ยว และประชาชนผู้สัญจรไปมา ให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวด้วยความเต็มใจ ประดุจญาติมิตร มีความรอบรู้วัฒนธรรมในพื้นที่ อัตถจริยา P = Public Mind หมายถึง จิตอาสา ความกระตือรือร้นในการปฏิบัติหน้าที่ ขวนขวายต้องการช่วยเหลือ โดยการจัดเวรออกตรวจเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอเพื่อคอยสอดส่องดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชน
References
(๑) หนังสือ
สำนักเทศกิจ. เทศกิจใกล้ชิดชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักเทศกิจ, ๒๕๕๖.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. แผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗. กรุงเทพมหานคร: สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร, ๒๕๕๗.
(๒) วิทยานิพนธ์/รายงานการวิจัย
กิ่งดาว จินดาเทวิน. “การศึกษาและพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีสำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล อบต ในจังหวัดอุตรดิตถ์”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนรินทร์, ๒๕๕๒.
ฐิติรัตน์ มีมาก. “การจัดการที่มีประสิทธิผลของสหกรณ์การเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย”. ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๔๘.
ณรัฐ วัฒนพานิช. “การปรับพฤติกรรมมนุษย์ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗”. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๕๑.
นฤนันท สุริยมณ และคณะ. “คุณธรรมจริยธรรมที่มีผลตอการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตําบล”. รายงานวิจัย. สงเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม สํานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู องค์การมหาชน, ๒๕๔๙.
นาคม ธีรสุวรรณจักร. “รูปแบบการบริหารงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดราชบุรี”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๕๔.
สมโพชน์ กวักหิรัญ. “บูรณาการการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลด้วยหลักสัปปุริสธรรม””. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตร์ดุษฏีนิพนธ์. สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น