ประสิทธิผลการดำเนินการตามนโยบายการชำระหนี้เกษตรกรไทยตามหลักพุทธจริยธรรมาภิบาล
คำสำคัญ:
ปัญหาการชำระหนี้เกษตรกรไทย, องค์ประกอบของการบริหารงานเพื่อการชำระหนี้, แนวทางการชำระหนี้ตามหลักพุทธจริยธรรมาภิบาลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ได้แก่ (๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการชำระหนี้ของเกษตรกรไทย (๒) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการชำระหนี้ของเกษตรกรไทย (๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการชำระหนี้ของเกษตรกรไทยตามหลักพุทธจริยธรรมาภิบาล ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน ๒๓ รูป/คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบ ตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนร่วมในการสนทนากลุ่มเฉพาะ ๒ กลุ่มๆ ละ ๑๒ คน เลือกแบบเจาะจงจากเกษตรกรพี่เลี้ยงในจังหวัดฉะเชิงเทรา และ ๑๓ รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ๑๗๕ คน จากประชากรจำนวน ๓๒๐ คน ใช้สูตรการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบค่าเอฟ (F-test)
ผลจากการวิจัย
๑. พบว่าสภาพปัญหาการชำระหนี้ของเกษตรกรไทย มี ๓ ปัจจัย คือ ๑.๑. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การศึกษา ปัญหาควรเรือน ค่านิยมที่ผิด ๑.๒. ปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาการผลิต การตลาด แหล่งเงินทุน และ ๑.๓. ปัจจัยนโยบายการชำระหนี้ ได้แก่ การประสานงานบกพร่อง การประชาสัมพันธ์ ไม่ทั่วถึง การดำเนินโครงการไม่ต่อเนื่อง งบประมาณไม่เพียงพอ
๒. องค์ประกอบของการบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการชำระหนี้ของเกษตรกรไทยประกอบด้วย
๒.๑ การวางแผน บริหารโดยรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ การให้การศึกษา ปรับเปลี่ยนค่านิยม พฤติกรรมของเกษตรกร เกษตรกรมีส่วนร่วมแก้ปัญหา และนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต
๒.๒ การจัดองค์การ บริหารโดยรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สร้างเครือข่ายชุมชนเกษตรกร ให้สินเชื่อกลุ่มเกษตรกรแทนการให้สินเชื่อรายบุคคล จัดสรรผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่แก้ปัญหาต่อเนื่อง เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาภาคการเกษตรแบบครบวงจร
๒.๓ การบังคับบัญชา บริหารโดยรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ จัดฝึกอบรมอาชีพเกษตรกรรอบด้าน เน้นเรื่องการวางแผนทางการเงิน กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน ประชาสัมพันธ์ด้านเกษตรให้ครบวงจรทั่วถึง มอบหมายความรับผิดชอบแบบเจาะจง
๒.๔ การประสานงาน บริหารโดยรัฐบาล คือ ขยายผลเพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรายอื่น ประสานงานและประชุมร่วมกันทุกส่วนงาน เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินทุกไตรมาส เกษตรกรต้องสามารถพึ่งพาตนเองได้
๒.๕ การควบคุม บริหารโดยรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ประเมินผลทุกโครงการอย่างต่อเนื่อง การใช้งบประมาณต้องคุ้มค่า ควบคุมกำกับดูแลการดำเนินการโครงการต่างๆ อย่างใกล้ชิด และต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
๓. แนวทางการชำระหนี้ของเกษตรกรไทยตามหลักพุทธจริยธรรมาภิบาล ก่อให้เกิดประสิทธิผล คือ เกษตรกรมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น มีเงินออมเพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีศักยภาพการชำระหนี้ดีขึ้น มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินลดลง และมีความสามารถชำระหนี้ได้ในที่สุด
References
(๑) หนังสือ
จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร. สังคมทางแก้วิกฤตสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทฟ้าอภัย, ๒๕๕๑.
สมบัติ ธำรงธัญวงค์. นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๕๑.
อรัญ วิสุทธิแพทย์. การบริหารทรัพยาบุคคล. ฉะเชิงเทรา: สำนักงานการเกษตรและสหกรณ์, ๒๕๕๖.
(๒) วิทยานิพนธ์
ตวงพร สมสมัย. “การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ : กรณีศึกษาอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี”. รายงานการวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, ๒๕๕๓.
นริศร ทองธิราช. “นโยบายของรัฐกับปัญหาที่ดินของเกษตรกร : กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาเกษตรที่จังหวัดสกลนคร”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๕๐.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น