ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระครูพิศิษฐ์โชติธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อภินันท์ จันตะนี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ุบุษกร วัฒนบุตร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การจัดการเรียนการสอน, ธรรมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓) เพื่อศึกษาแนวคิดและการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการ จัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๓) เพื่อศึกษา และนําเสนอรูปแบบประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและ การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจํานวน ๓๖๐ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ด้วยค่าร้อยละ ศเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการ วิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จํานวน ๒๕ รูป/คน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มี โครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า๑. แนวคิดและการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า การจัดการเรียนการสอนเป็นกระบวนการในการถ่ายทอดความรู้ จากผู้สอนสู่ผู้เรียน ทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้แท้จริงผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ น่าสนใจสอดคล้องกับวัย สติปัญญาความสามารถของผู้เรียน และเป็นกระบวนการเพื่อให้ผู้เรียน คิดเป็น ทําเป็น แก้ปัญหาได้ เกิดการเรียนรู้ และบรรลุเป้าหมายที่วางไว้สภาพปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียน มัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า กลุ่มตัวอย่างของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นครู จํานวน ๓๘๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๘๘ มีเพศชาย จํานวน ๓๕๔ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๓๖มีอายุ ๕๓ - ๕๐ ปี จํานวน ๔ณ์ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒๒.๐๔ มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จํานวน ๓๙๘ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 54.ส่ง ความคิดเห็นของพระสังฆาธิการและครูที่มีต่อ ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (X =a.๕๙) นอกจากนี้ ผลการวิจัยพบว่า พระสังฆาธิการและครูพระสังฆาธิการ มีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาและอุปสรรคใน การจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่แตกต่างกัน ๓. รูปแบบประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ๑. การบริหารบุคคล ครูพระสอนศีลธรรมได้รับการพัฒนา เพื่อที่จะทําให้ระบบงานของตนเองมีความก้าวหน้า มีความรวดเร็วโดยการอบรม การสัมมนาของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ ให้พระสอนศีลธรรม ๒. การบริหาร การเงิน การเบิกจ่ายเงิน การบัญชีและระบบการจัดซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนได้ อย่างถูกต้อง เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ๓. การบริหารวัสดุอุปกรณ์ จะต้องมีระบบบริหาร ที่ดีและมีประสิทธิภาพเพื่อใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่จํากัดหรือหามาเพิ่มเติมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ๔. การจัดการ จําแนกกระบวนการบริหารจัดการโดยแบ่งเป็น ๗ หน้าที่ ประกอบด้วยขั้นตอน POSDCORB ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การจัดบุคลากร การสั่งการ การประสานงาน การรายงาน และการงบประมาณ

References

บรรณานุกรม
๑. ภาษาไทย
(๑) หนังสือ
กมล ภู่ประเสริฐ, การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บริษัทจํากัด ก.พล,๒๕๔๔.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร, ๒๕๕๕
สํานักงานแม่กองธรรมสนามหลวง. เรื่องสอบธรรมสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ. ๒๕๕๔กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรศาสนา, ๒๕๕๔
(๒) วิทยานิพนธ์/รายงานวิจัย
ฆนัท ธาตุทอง. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, ๒๕๕๔.
พระเมธีธรรมาลังการ และคณะ. การใช้หลักธรรมพรหมวิหาร ๔ ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 5. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕
นงค์ลักษณ์ เรือนทอง รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล, วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๕
ศิริพร ตันติยมาศ, การบริหารเครือข่ายโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๕
เสือ สัชชานนท์ และคณะ, การศึกษารูปแบบการพัฒนาจริยธรรมแนวพุทธในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์, รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗
สิน งามประโคน. และคณะ, การศึกษาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. รายงานการวิจัย, สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖
สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย, และคณะ. การศึกษาวิเคราะห์รูปแบบโรงเรียนวิถีพุทธ : ศึกษากรณี โรงเรียนวิถีพุทธ ๑๖ เขตพื้นที่ศึกษา. รายงานการวิจัย. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาสัย. ๒๕๕๗.
อภินันท์ จันตะนี และ ปรีชา วรารัตน์ไทย. การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการหลักสูตรระดับปริญญาเอกในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน รายงานการวิจัย. คณะวิทยาการ จัดการ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, ๒๕๕๑
๒. ภาษาอังกฤษ
(1) Book: Mullins, L . Management and Organizational Behavior. London: PitmanPublishing, 1985.
Shally. Responding to Social Change Pnnsylvania: Hutchison and Press, 1975.
Vavra, T.G. After Marketing: How to Keep Customer for Life throughRelationship Marketing. New York McGraw-Hill, 1992.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-04-15

How to Cite

พระครูพิศิษฐ์โชติธรรม, จันตะนี อ., & วัฒนบุตร ุ. (2015). ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา . วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 16–30. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245362