กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ : การสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) สาขาอู่ทอง

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ สำราญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • โสรยา สุภาผล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • กมลรัตน์ ธัญญเจริญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ความผูกพันต่อองค์กร

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจและปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) สาขาอู่ทอง กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานภายใน บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) สาขาอู่ทอง จำนวน 76 คน โดยใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจ ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และความผูกพันต่อองค์กร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ด้านความต้องการทางด้านสังคม ด้านความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง ด้านความต้องการความปลอดภัย ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) สาขาอู่ทอง มีอำนาจการทำนายร้อยละ 60.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) สาขาอู่ทอง มีอำนาจการทำนายร้อยละ 61.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กัลยา บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ญาดา สามารถ. (2558). รูปแบบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของเจนเนอเรชันเอ็กซ์และเจนเนอเรชันวาย (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน). (2562). รู้จักเสริมสุข. สืบค้น 25 มิถุนายน 2562, จาก http://www. sermsukplc.com/th/about /page/history

ประมินทร์ เนาวกาญจน์. (2553). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานเทศบาลนครยะลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารพัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ประยุทธ ชูสอน. (2548). พฤติกรรมภาวะผู้นำและแนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในเขตตะวันออกเฉียงเหนือ(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปัทมา เจริญพรพรหม. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความผูกพันในงาน และความผูกพันต่องค์การ: กรณีศึกษาพนักงานกลุ่มบริษัทผู้ผลิตสินค้าบริโภคข้ามชาติแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพฯ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมจิตร จันทร์เพ็ญ. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่ สถาบันพัฒนาชุมชน (องค์การมหาชน). (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารพัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สายธาร ทองอร่าม. (2550). ความผูกพันต่อองค์กร: ศึกษากรณี บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด สาขารามคำแหง. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,.

สุพชร ไตรวิจิตรศิลป์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรกรณีศึกษา พนักงานเจนเนอเรชั่นวาย ในองค์กรเอกชน เขตสาทร และอโศก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(2), 260-266.

Hewitt Associates. (2019). Overview. Retrieved April 15, 2019, from http://was4.hewitt.com/hewitt/about/overview/index.htm

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality (2nd ed.). New York: Harpen and Willey and Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-20

How to Cite

สำราญ ล., สุภาผล โ., & ธัญญเจริญ ก. (2020). กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ : การสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) สาขาอู่ทอง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(2), 261–273. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/243694