การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการพื้นที่มรดกโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การจัดการ, พื้นที่มรดกโลกบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการพื้นที่มรดกโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการวิจัยเชิงเอกสาร เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 16 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาเรียบเรียงและจำแนกอย่างเป็นระบบ และการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ จากแบบสอบถาม เก็บข้อมูลกับพระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาในวัดต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการพื้นที่มรดกโลก จำนวน 183 รูป สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ กับการจัดการพื้นที่มรดกโลก มีความสัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก (r = 0.844 , p-value = 0.000) และปัจจัยด้านพุทธธรรม คือ หลักปธาน 4 กับการจัดการพื้นที่มรดกโลกมีความสัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์กันในระดับมากก (r = 0.867 , p-value = 0.000) การพัฒนาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการพื้นที่มรดกโลก มี 4 ด้าน คือ การเข้าร่วมในการตัดสินใจ การเข้าร่วมในการดำเนินงานของแผน การเข้าร่วมในการติดตามและประเมินผล การเข้าร่วมในการรับผลประโยชน์
References
ธาตรี มหันตรัตน์และคณะ. (2559). แนวทางการอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม กรณีนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร. วารสารวิชาการอยุธยา, 8(2), 184.
พระครูพิศิษฎ์ประชานาถ (ประยูร นนฺทิโย) และคณะ. (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ ในการพัฒนาชุมชนตามแนววิถีพุทธในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 23-36.
พระครูวิสุทธินนทคุณ (ทวี สุทฺธิวํโส). (2557). บทบาทของวัดในการอนุรักษ์โบราณสถานในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสิทธิวชิรโสภิต. (2562). การพัฒนาบทบาทของพระสังฆาธิการในการอนุรักษ์พุทธสถาน ในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(4), 61-72.
พระปลัดโอภาส โอภาโส. (2562). การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการพื้นที่มรดกโลกจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, ผศ.ดร. (2561). ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการเชิงพุทธ. พระนครศรีอยุธยา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รจณา คูณพูล และประครอง คูณพูล. (2551). ศึกษารูปแบบการบูรณะกุฏิทรงไทยเรือนหมู่วัดท้ายยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
สมหวัง แสงไสย. (2542). การศึกษาหอพระไตรปิฎกในจังหวัดเพชรบุรี (รายงานผลการวิจัย).เพชรบุรี: สำนักวิจัยและบริการวิชาการสภาบันราชภัฏเพชรบุรี.
สาธิต กฤตตาลักษณ. (2551). การศึกษารูปแบบการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาโบราณสถานในเขตทุ่งกุลาร้องไห้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น