การพัฒนาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนววิถีพุทธในจังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • พระครูพิศิษฎ์ประชานาถ (ประยูร นนฺทิโย) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การพัฒนาชุมชน, วิถีพุทธ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป กระบวนการการพัฒนาชุมชนและนำเสนอการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนววิถีพุทธในจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 32 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและพรรณนาความ และการสนทนากลุ่มเฉพาะ กับผู้เชี่ยวชาญ 12 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า 1. พระสงฆ์ระดับเจ้าอาวาสในฐานะเป็นที่ปรึกษาของชุมชน เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจ มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือชุมชนมาโดยตลอด กิจกรรมเด่น คือ โครงการลงแขกลงคลอง เป็นกิจกรรมที่ขอแรงมาช่วยกันขุดลอกคลองน้ำ 2. กระบวนการในการพัฒนา ประกอบด้วยการสะท้อนปัญหาให้ชาวบ้านได้รับรู้อย่างแท้จริง การเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 3. รูปแบบการเข้าร่วมในการตัดสินใจและเห็นพ้องด้วยวิถีพุทธ ทำได้โดยการศึกษาข้อมูลของชุมชนให้รอบด้าน พระสงฆ์ต้องร่วมกับชุมชนจัดทำแผนพัฒนาชุมชนร่วมกับชาวบ้าน เช่น ชุมชนจังหวัดสมุทรสงครามมีการประชุมชาวบ้านทุกเดือนเพื่อวางแผนกันแก้ไขปัญหาของคนในชุมชน เน้นความคุ้มค่า โปรงใส ตรวจสอบได้

References

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

กริชพัฒน์ ภูวนา. รูปแบบการพัฒนาชุมชนอยู่ดีมีสุข กรณีศึกษา: บ้านดอนมัน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

คะนึงนิตย์ จันทรบุตร. (2532). สถานะและบทบาทของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

จุรีพร กาญจนการุณ. การนำเสนอแนวทางการพัฒนาและการใช้ประโยชน์แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนเขตบางขุนเทียน (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดารณี รักดี. การพัฒนารูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่ออาชีพในชุมชนชนบทพึ่งตนเอง (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เปรมชญา ชนะวงศ์ และคณะ. (2553). การพัฒนาศักยภาพชุมชนบนเพื่อการพึ่งตนเองบนฐานทุนทางสังคม (รายงานผลการวิจัย). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ. (2562). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ ในการพัฒนาชุมชนตามแนววิถีพุทธ ในจังหวัดสมุทรสงคราม (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). ธรรมนูญชีวิต. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.

พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล. (2538). การบริหารวัด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกายและธนาคารสหธนาคารจำกัดมหาชน.

ศิริวรรณ เพียรสุข และคณะ. (2541). ผลการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตในชุมชน. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-16

How to Cite

(ประยูร นนฺทิโย) พ., กิตฺติโสภโณ พ., & สุนนฺโท พ. (2020). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนววิถีพุทธในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 23–36. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/238391