รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหาร, โรงเรียนผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานภาพ และความต้องการของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี โดยการศึกษาสถานภาพและความต้องการของผู้สูงอายุในโรงเรียน ใช้การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 60 คน ส่วนการศึกษารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ใช้หลายวิธีร่วมกัน ได้แก่ ศึกษาเอกสาร แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ การสนทนากลุ่ม ประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยไม่ใช้แบบสอบถาม และการสังเกตไม่เข้าไปมีส่วนร่วม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงปริมาณ หาความถี่และร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โดยการจัดหมวดหมู่ เรียบเรียง และอธิบายความ
ผลการวิจัยพบว่า
1.การศึกษาสถานภาพและความต้องการของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 60-69 ปี เป็นแม่บ้าน มีความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้เอง กิจกรรมในเวลาว่างไปวัดทำบุญ และระยะเวลาเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุอยู่ระหว่าง 1-2 ปี มีความต้องการให้โรงเรียนจัดกิจกรรม คือ กิจกรรมการท่องเที่ยวและทัศนศึกษานอกสถานที่ รองลงมาคือ กิจกรรมการทำอาหาร แต่งบ้าน จัดแต่งสวน ปลูกต้นไม้ดอกไม้ สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการให้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นคือ เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาผู้สูงอายุต้นแบบ และเป็นแหล่งชุมนุมพบปะสังสรรค์ของผู้สูงอายุในชุมชน
- การศึกษารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พบว่า ด้านโครงสร้างการบริหารงานโรงเรียน แบ่งออกเป็น 4 งาน ได้แก่ งานบริหารงานวิชาการ งานบริหารงานงบประมาณ งานบริหารงานบุคคล และงานบริหารงานทั่วไป และมีคณะกรรมการดำเนินงานประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะกรรมการส่งเสริมโรงเรียน และคณะกรรมการนักเรียน
คำสำคัญ : รูปแบบการบริหาร, โรงเรียนผู้สูงอายุ
References
Chanachok Kamwan. (2010). Guidelines for Promoting Quality of Life of The Elderly in Plapak Subdistrict Administrative Organization Nakhon Phanom Porvince (Muster of Thesis). Graduate School: Khonkaen University.
Jetsada Boontha. (2002). Quality of Life of The Elderly in Mae Hor Pra Sabdistrct Mae Taeng Distring Mai Province (Muster of Thesis). Graduate School: Chiang Mai University.
Khao Phra Ngam Subdistrict Municipality. (2015). Annual Report of Khao Phra Ngam Subdistrict Municipality. Lop Buri: Khao Phra Ngam Subdistrict Municipality.
Pumisake Snamchaiskul, Chintana Snamchaiskul And Nattakarn Wattanawongpruk (2014). A Management Model of Elderly School in Bantew, Lomsak District, Phetchabun (Research Report). Phetchabun: Phetchabun Rajabhat University.
Sharma. R.C. (1975). Population and Socio-economic Development. in Population Trend. Resource and Environment: Hand Book on Population. NewDelhi: n.p.
Thitirat Dityothin. (2007). The Role of Subdistrict Administrative Organization on The Elderly Welfare In Community : A Case Study of Nongkhai Province (Muster of Thesis). Graduate School: Thammasat University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น