STUDY TO DEVELOP AND STRENGTHENING THE BUSINESS COMMUNITY BY KNOWLEDGE AND LOCAL WISDOM : CASE STUDY OF THE PRODUCT OF ARANYIK AYUTTHAYA
Keywords:
Strengthening the Business Community, Knowledge, Local WisdomAbstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดำเนินธุรกิจชุมชนของกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้อรัญญิก ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจชุมชน 3) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและเสริมสร้างปัจจัยเหล่านั้นให้อยู่ในลักษณะที่เอื้อต่อการเกิดความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชนอย่างต่อเนื่อง
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยทั้งในเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกต รวมทั้งการเปิดเวทีแสดงความคิดเห็นผู้นําชุมชน ผู้นํากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ และปราชญ์ชาวบ้าน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณาความ
ผลการวิจัยพบว่า
องค์ความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดำเนินธุรกิจ ได้รับการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น องค์ความรู้ได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับยุคสมัย ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่นถือว่าเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นและชื่อเสียงให้ผลิตภัณฑ์อรัญญิกจนเป็นที่ยอมรับของตลาด
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจชุมชน คือ กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน กระบวนการด้านวัฒนธรรม ระบบความสัมพันธ์ในชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น เดิมทั้ง 5 ปัจจัย
ส่งผลต่อความสำเร็จทั้งสิ้น แต่ปัจจุบันผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อรัญญิกเป็นรุ่นที่ 2 รุ่นที่ 3 ทำให้ขาดความเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะกระบวนการทางวัฒนธรรม ที่เคยหล่อหลอมผู้คนเข้าไว้ด้วยกัน อย่างประเพณีไหว้ครูบูชาเตาค่อยๆหายไป และเป็นการทำตามความสะดวกของแต่ละบ้านมากว่าจะเป็นการร่วมกันทำเหมือนในอดีต แต่สิ่งหนึ่งที่ยังเป็นความเข้มแข็งของชุมชน คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งผู้นำชุมชนและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องพยายามเข้าไปช่วยขับเคลื่อนให้เกิดความร่วมมือ และนำมาใช้เป็นฐานในการกําหนดรูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและใช้เป็นตัวชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชน
แนวทางในการพัฒนาและเสริมสร้างปัจจัยเหล่านั้น ให้อยู่ในลักษณะที่เอื้อต่อการเกิดความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชนอย่างต่อเนื่อง คือการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานสำคัญเพราะเป็นจุดแข็งและปัจจัยที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้และผู้ซื้อสินค้า เน้นการใช้ตราสินค้าที่บ่งบอกความเป็นอรัญญิก เสริมด้วยกลยุทธ์การบริหารจัดการชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน การสร้างกระบวนการเรียนรู้ และการสร้างเครือข่าย ซึ่งทั้งหมดต้องอาศัยกระบวนการทางสังคม วัฒนธรรม เพื่อที่จะคงอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชน ต้องมุ่งเน้นไปที่องค์ความรู้เป็นฐานราก โดยต่อยอดและสืบทอดองค์ความรู้เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่ง นอกจากนั้นธุรกิจชุมชนจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการตามแนวทางสมัยใหม่ ใช้การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่าย มาสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ภูมิปัญญาที่มี นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด จึงจะสามารถทำให้ธุรกิจชุมชนแข็งแกร่งและยั่งยืนได้
References
Sunitda Choosawat (2012). The Appication of Populay Wisdom for Community Empowerment’s Ban Lohhan Amphur Pabon Phattlung Province. Graduate School:Hatyai University
Uthaiwan Pootes. (2017). Process of Transferring Local wisdom wicker in
Ban Dongchapu, Bang Maplor sub-district, Krok Phra district, Nakhon Sawan
province. Journal of MCU Social Science Review,4(3),180-188
Vitaya chandang. (2013). Model of Management, Strong Community, Sufficiency Economy, Upper Central Thailand .Doctor of Public Administration (Public Administration) Graduate School. Valaya Alongkorn Rajabhat University
Wanmakha Kesorndokmai.(2017).Management, Community Involvement and Sustainable Development of Historic Sites History Measure was Inconspicuous Tumbon Ta Num Oi 's Nakhon Sawan district. Journal of MCU Social Science Review,5(3),125-132
Warunee Phongpinyo. (2002). Local wisdom towards community strengthening: a case study of Ban Amphawan, Moo 8 Samran Subdistrict, Mueang District, Khon Kaen Province. Master of Arts Thesis, Loei Rajabhat University.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
In order to conform the copyright law, all article authors must sign the consignment agreement to transfer the copyright to the Journal including the finally revised original articles. Besides, the article authors must declare that the articles will be printed in only the Journal of MCU Journal of Social Sciences. If there are pictures, tables or contents that were printed before, the article authors must receive permission from the authors in writing and show the evidence to the editor before the article is printed. If it does not conform to the set criteria, the editor will remove the article from the Journal without any exceptions.