รูปแบบการจัดการความรู้ตามหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาบุคลากร ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การจัดการความรู้,การพัฒนาบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, หลักพุทธธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. เพื่อศึกษากระบวนการการจัดการความรู้และหลักพุทธธรรมในการพัฒนาบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ3.เพื่อนำเสนอรูปแบบจัดการความรู้ตามหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีด้วยเชิงคุณภาพมีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงจำนวน 26 รูป/คน การสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 11 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าสภาพปัญหาทั่วไปในการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากรยังขาดผู้มีประสบการณ์ ขาดความสนใจต่อกิจกรรมในองค์กร ขาดการจัดระบบข้อมูลขาดแรงกระตุ้นในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม สำหรับการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม พบว่า ด้านการปฏิบัติ (ศีล) จะมาในรูปแบบของนโยบาย งบประมาณ และโครงสร้างการบริหารก่อให้เกิดการจัดการความรู้ ด้านทางจิตใจ (สมาธิ) เป็นการสร้างทัศนคติที่ดีและการสร้างแรงจูงใจให้เกิดความสนใจในการจัดการความรู้ ส่วนด้านความรอบรู้ (ปัญญา)เป็นการนำความรู้ที่ได้รวบรวมไว้นำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และรูปแบบจัดการความรู้ตามหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 4องค์ประกอบ ได้แก่ 1. การจัดการความรู้ตามหลักพุทธธรรมในด้านองค์กร 2. รูการจัดการความรู้ตามหลักพุทธธรรมในด้านบุคคล 3. การจัดการความรู้ตามหลักพุทธธรรมในด้านเทคโนโลยี4. การจัดการความรู้ตามหลักพุทธธรรมในด้านการเรียนรู้
References
manages the knowledge in institution of Thai education. (Doctor of philosophy thesis, Chulalongkorn University).
Chakkris Suriyophakhan. (2011). The from and process of teacher
development in integrative Buddhist philosophy. (Doctor of
philosophy thesis, Mahachulalong kornrajavidyalaya
University).
Chalard Chantarsobat. (2005). The development of knowledge
management model Of community organization. (Doctor of
philosophy thesis, Thammasat University).
Nattawut Rojaritutikul. (2009). Organizational health and human
Resource management: A case study of state University.
(Doctor of public
administration thesis, National institute of development
administration).
Karl M. Wiig. (1993). Application of knowledge management in
public administration. (Knowledge research institute,
Arlington. Texas. U.S.A.)
Anurak Panyanuwat. (2006). Development of knowledge
management model and Learning process for sustainable
highland development. (Office of academic Services,
Chiangmai University).
Royal Academy. (2013). The royal institute of Thai dictionary 2554.
Bangkok: Nanmee Puplications.
Thomas H. (2000). Davenport and Laurence Prusak.
Workingknoeledge : How organization manage what they
know. 2nd edition. Boston. Massachusetts : Harvard business
school press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น