การรวมกลุ่มทางการเมืองในจังหวัดนครสวรรค์ กรณีศึกษา เครือข่ายป่าชุมชนคนรักษ์ป่า เขาแม่กระทู้ บ้านธารมะยม อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์
-
คำสำคัญ:
กลุ่มทางการเมือง, กิจกรรมของกลุ่ม, การจัดการสิ่งแวดล้อมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการรวมตัวของเครือข่ายป่าชุมชนคนรักษ์ป่า เขาแม่กระทู้ บ้านธารมะยม อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ และ 2) เพื่อศึกษากิจกรรมของเครือข่ายป่าชุมชนคนรักษ์ป่า เขาแม่กระทู้ บ้านธารมะยม อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมองผ่านแนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management) และทฤษฎีกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) ทั้งนี้คณะผู้วิจัยได้เลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ตามรูปแบบการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยการใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Approach) สัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) กับผู้ก่อตั้งและสมาชิกของเครือข่ายป่าชุมชนคนรักษ์ป่า เขาแม่กระทู้ จำนวน 6 คน โดยผลการวิจัยครั้งนี้ นำเสนอในรูปแบบการเขียนเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) ร่วมกับการอธิบายความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์
ผลการวิจัยพบว่าสาเหตุการรวมตัวของเครือข่ายนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 มาจาก 3 ปัจจัย คือ 1) ปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมภายในบริเวณภูเขาแม่กระทู้ (โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรน้ำ) ที่เป็นผลพวงมาจากปัจจัยที่ 2 และ 3 และการขาดจิตสำนึกในการรักษาและดูแลทรัพยากรธรรมชาติแลพสิ่งแวดล้อมร่วมกันในชุมชน 2) ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อเพิ่มพื้นที่ในทำการเกษตร (ที่เป็นผลพวงมาจากปัจจัยที่ 3) เมื่อทุกคนต้องการพื้นที่ทางการเกษตรมากขึ้น พื้นที่ที่จะถูกบุกรุกเป็นที่แรก จึงหนีไม่พ้นพื้นที่ป่า เพราะไม่มีใครเป็นเจ้าของที่ชัดเจน (ตามความคิดของคนทั่วไป) และก่อให้เกิดความขัดแย้งในการจัดการที่ดินน้อยกว่าการไปบุกรุกพื้นที่ของเอกชนหรือปัจเจกอื่น ๆ และ 3) ปัญหาการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่มุ่งเน้นให้คนขาดจิตสาธารณะ สนใจแต่เรื่องการทำมาหากินของปัจเจกเอง จนละเลยประเด็นด้านการใช้และร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไป โดยมีการดำเนินกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม คือ กิจกรรมประปาภูเขาและการปลูกป่า, กิจกรรมกลุ่มโรงเรียนชาวนา หมู่บ้านธารมะยม, กิจกรรมส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้แก่ครัวเรือนและชุมชน, กิจกรรมด้านการเป็นแหล่งความรู้ให้แก่บุคคลภายนอก และกิจกรรมทางด้านดนตรีและศิลปะ
References
Chairat Charoensin-o-larn. (1999). Development Discourse : Power, Knowledge Truth, Identity and Otherness. Bangkok : Vibhasazine.
Chumphon Nimphanit. (2009). Interest Groups and Thai Politics : Old & New Politics and Case Studies. Bangkok : Chulalongkorn University Printing House. 2nd Edition.
Daatfah Tharee. (2017). Member of Farmer School. Interview. July 16, 2017.
Nakhon Sawan.(2019). Forest Network Community at Ban Than Mayom. (n.d.). Documentation of “Ban Than Mayom, Mae Wong District of Nakhon Sawan Province”.
Kanyanee Witthummanon. (2018). Member of Forest Network Community at Ban Than Mayom. Interview. June 17, 2017. Nakhon Sawan.
Narong Rangkasikorn. (2012). “Mae Wong Dam Project” by Sueb Nakhasathien Foundation. At Room Nonsee 1 Floor 4 KU HOME, Kasetsart University. June 28.
Narong Rangkasikorn. (2014). Main of Forest Network Community at Ban Than Mayom. Interview. September 3, 2014. Nakhon Sawan.
Narong Rangkasikorn. (2012). Main of Forest Network Community at Ban Than Mayom. Interview. July 23, 2017. Nakhon Sawan.
Prapart Pintobtamg. (2009). Political Process Theory and Social Movement. Chiang Mai : Heinrich Boell Foundation.
Prasong Phophrarot. (2017). Main of Farmer School. Interview. July 16, . Nakhon Sawan.
Rataya Chandratheiyn. (2011). Community Forest Act [online]. Retrieved August 13, 2017. Available:
Rungrong Phetcharaburanin. (2012). Mae Wong Dam Project stop by Community Water Management [online]. Retrieved October 18, 2015. Available: https://www.facebook.com/notes/rungroj-petcharaburanin/เปลี่ยนเขื่อนแม่วงก์ สู่การจัดการน้ำโดยชุมชน.
Worraluck Sriyai. (2012). Open forest preservation village - water management No dams are used throughout. All year [online]. Retrieved December 20, 2016. Available: https://tcijthai.com/tcijthainews/view.php?ids=605.
Suwit Chansrilucksa. Philosopher at Ban Than Mayom. Interview. June 17, 2017. Nakhon Sawan.
Suwit Philuk. (2014). Nature come to the city : No wilderness [online]. Retrieved December 14, 2016. Available: https://www.youtube.com/watch?v=-I0vzlpnAK8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น