การพัฒนาชุมชน ด้วยการท่องเที่ยวในมิติศาสนา: พระอุเทสิกเจดีย์ขนาดใหญ่

ผู้แต่ง

  • พระมหาจินตวัฒน์ จารุวฑฺฒโน (วิจารณ์ปรีชา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุภัทรชัย สีสะใบ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พระอุเทสิกเจดีย์ขนาดใหญ่ , การพัฒนาชุมชน, การท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ผลคาดหวัง ของการท่องเที่ยวแนวทางศาสนาวัฒนธรรม ต่อวัดที่มีพระอุทเทสิกเจดีย์ขนาดใหญ่ (พระสิงห์ใหญ่) ที่มีต่อพระภิกษุ นักท่องเที่ยว ชาวบ้านในชุมชน ในเขตวัดม่วงชุม ในจังหวัดสิงห์บุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บข้อมูลจากเอกสาร  การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ณ วัดม่วงชุม ต.ไม้ดัด อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี ที่มีพระอุทเทสิกเจดีย์ขนาดใหญ่ (พระสิงห์ใหญ่) ได้แก่ พระ 4 รูป, นักท่องเที่ยวจำนวน 12 คน, คนในชุมชน 4 คน รวม 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า

            มุมมองของพระภิกษุที่มีต่อการท่องเที่ยวภายในวัด  1) ต้องการให้คนเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจในวัด และต้องการให้เข้ามาปฏิบัติธรรม 2) ต้องการให้ชุมชนและชาวบ้าน มีส่วนร่วมช่วยเหลือวัด  อยากให้ปฏิบัติตามกฎของวัด  อยากให้มาทำบุญตามประเพณีและให้สนับสนุนกิจกรรมของวัด

            มุมมองของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวภายในวัด  แนวคิดที่ 1 เห็นด้วยว่า วัดควรเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ไหว้พระ กราบพระ และวัดควรเป็นแหล่งเรียนรู้ หลักธรรม คำสอนของศาสนา อยากสนทนาธรรม  แนวคิดที่ 2 ไม่เห็นด้วย เพราะวัดควรเป็นที่ประกอบศาสนกิจและศาสนพิธีเท่านั้น โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติ การทำสมาธิ การภาวนา ความคาดหวังของนักท่องเที่ยว ที่มีต่อชุมชนและชาวบ้าน ชุมชนควรให้ความร่วมมือเมื่อสอบถามข้อมูลการท่องเที่ยว

มุมมองของชาวบ้านในชุมชนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวภายในวัด  ชุมชนเห็นด้วย
กับการท่องเที่ยวแนวพุทธและท่องเที่ยวเชิงพักผ่อนหย่อนใจ ความคาดหวังของชุมชนและชาวบ้านที่มีต่อวัด วัดควรเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสนา ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น ของทั้งผู้ใหญ่และเยาวชน ความคาดหวังของชุมชนและชาวบ้านที่มีต่อนักท่องเที่ยว อยากให้นักท่องเที่ยวให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎของวัดและช่วยรักษาสภาพแวดล้อม ข้อเสนอแนะในการวิจัย ควรเปิดโอกาสให้ผู้นำและคนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการ ควรจัดหาสิ่งของพื้นบ้านที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อจัดแสดงพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและศาสนา ควรจัดแบ่งเขตบริเวณท่องเที่ยวและร้านค้าให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ควรมีการสร้างสื่อต่างๆในการประชาสัมพันธ์ให้หลากหลายยิ่งขึ้น  โดยการจัดทำวีดีโอข้อมูลประวัติสถานที่ท่องเที่ยว คู่มือการเกี่ยวกับท่องเที่ยว ควรมีมัคคุเทศก์พาชมสถานที่ และอธิบายประวัติความเป็นมา ประโยชน์ ความสำคัญของสถานที่ ควรมีห้องสนทนาธรรม ให้พระสนทนาธรรมะด้วยภาษาง่ายๆ เข้าใจได้ไม่ยาก ควรให้มีห้องน้ำที่เพียงพอและเหมาะสม และวัดควรสะอาดร่มรื่น

References

Archeology Department, Fine Arts Department.(2007). Sapthanu Archeology Department. Bangkok: Fine Arts Department.
Aree Kulpana . (2013). (2013, July – December) The Study Potentiality Approaches In Religion Tourism of “Roi Kaen Sarn Sin” Cluster Provinces Panyapiwat Journal, 5(38), 31-39.
Bank of Thailand. (2013). Economic Issues in The Year 2013 and Trends in 2014. Bangkok: Bank of Thailand.
Praphat Chuwichian. (2011). 5 Maha Chedi Siam. Bangkok: Museum Press.
Religious Affairs Department, Ministry of Culture. (2008). Royal Monastery Book 1. Bangkok: The Agricultural Cooperative Assembly of Thailand.
______. (2014). Guidelines for the implementation of tourism promotion projects on pilgrimage routes in religious dimensions in 2014. Bangkok: Office of Moral Ethics Development, Department of Religious Affairs, Ministry of Culture.

เผยแพร่แล้ว

2019-06-26

How to Cite

จารุวฑฺฒโน (วิจารณ์ปรีชา) พ., & สีสะใบ ส. (2019). การพัฒนาชุมชน ด้วยการท่องเที่ยวในมิติศาสนา: พระอุเทสิกเจดีย์ขนาดใหญ่. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 263–273. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/175640