การถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากรวัยทำงาน

ผู้แต่ง

  • ยุทธนา รังสิตานนท์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • บังอร โสฬส สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ, พฤติกรรมองค์การ, การสร้างเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ, Organizational Behavior, Health Promotion, Organizational Socialization

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่าง การถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพกายสุขภาพจิต และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลากรวัยทำงานตั้งแต่ระดับปฎิบัติการ ตลอดไปจนถึงระดับหัวหน้างาน จำนวน 392 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 4 ฉบับ ได้แก่ (1) แบบสอบถามลักษณะส่วนบุคคล (2) แบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพสุขภาพทางกายและทางจิตรวม 6 ด้าน คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านการออกกำลังกาย ด้านโภชนาการ ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ และด้านการขจัดความเครียด (3) แบบสอบถามการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ ประกอบด้วยการถ่ายทอดทางสังคมใน 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นบรรจุเข้าทำงาน ขั้นเรียนรู้ ขั้นยอมรับ ขั้นดำรงรักษา และขั้นลาออกและจดจำ (4) แบบสอบถามพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ประกอบด้วยพฤติกรรมย่อย 5 ด้าน คือ ด้านการให้ความช่วยเหลือ ด้านการคำนึงถึงผู้อื่น ด้านความอดทนอดกลั้น ด้านการให้ความร่วมมือ และด้านความสำนึกในหน้าที่ แบบสอบถามฉบับที่ 2 ถึง 4 ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยพบว่ามีค่าความเชื่อมั่นได้ของแบบสอบถาม (Cronbach’s alpha coefficients) เท่ากับ .883, .914 และ .891 ตามลำดับ

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า (1) พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพกาย และสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (2) การถ่ายทอดทางสังคมในองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต (3) การถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกทื่ดีขององค์การ นอกจากนี้พบว่า การถ่ายทอดทางสังคมในองค์การขั้นต่าง ๆ สามารถทำนายพฤติกรรมการสร้างพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การขั้นการเรียนรู้ ผลที่พบทำให้เสนอแนะได้ว่า องค์การควรมุ่งเน้นการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การโดยเฉพาะในด้านการเรียนรู้ทักษะการทำงาน ค่านิยม ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมองค์การ ซึ่งจะเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องที่ทำให้บุคลกรมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพกาย และสุขภาพจิต รวมทั้งพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเพิ่มขึ้นพร้อมกันไปด้วย

เผยแพร่แล้ว

2019-05-18

How to Cite

รังสิตานนท์ ย., & โสฬส บ. (2019). การถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากรวัยทำงาน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 106–116. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/172854