การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความที่ส่งจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์มาก่อน หรือกำลังได้รับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  • บันทึกบทความในไฟล์ Microsoft Word
  • ความยาวบทความไม่เกิน 15 หน้า ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1.0
  • รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun New ตัวบทความใช้ขนาด 16 หัวข้อใช้ตัวหนา ขนาด 18
  • รูปแบบการอ้างอิงแบบ APA

คำแนะนำผู้แต่ง

การเตรียมต้นฉบับ (Manuscript Preparation)

1. ขนาดของบทความ : ควรจัดพิมพ์บทความด้วย Microsoft Word บนกระดาษขนาด A4 หน้าเดียว ประมาณ 25 บรรทัด ต่อ 1 หน้า แบบแนวตั้ง (Portrait) รูปแบบตัวอักษร (Font) ให้ใช้ตัวอักษร TH Sarabun New ขนาดของตัวอักษร (Font size) เท่ากับ 16 และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นจนจบบทความที่ด้านบนขวาของกระดาษ (ยกเว้นหน้าแรก) ความยาวของบทความไม่ควรเกิน 15 หน้า สำหรับการตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page setup) และส่วนระยะขอบ (Margins) กำหนดดังนี้ ด้านบน (Top) 2.54 ซม. ด้านล่าง (Bottom) 2.54 ซม. ด้านซ้าย (Left) 2.54 ซม. ด้านขวา (Right) 2.54 ซม. หัวกระดาษ (Header) 1.25 ซม. ท้ายกระดาษ (Footer) 1.25 ซม.

2. ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน และสังกัด (Title, Author’s name, Author’s affiliation): ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษจัดกึ่งกลาง ให้ใช้ตัวอักษร TH Sarabun New ขนาดของตัวอักษร 18 ตัวหนา ส่วนชื่อ-นามสกุลผู้เขียน และสังกัด ให้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ ชื่อผู้เขียนให้ใช้ตัวอักษร TH Sarabun New ขนาดของตัวอักษร 16 ตัวหนา และไม่ต้องระบุคำนำหน้าชื่อ ส่วนสังกัดให้ใช้ตัวอักษร TH Sarabun New ขนาดของตัวอักษร 16 ตัวหนา ให้ระบุสาขาวิชา ภาควิชา คณะ สถาบัน หรือหน่วยงานที่สังกัด พร้อมอีเมล์ในการติดต่อ ทั้งนี้ กรณีมีผู้เขียนมากกว่า 1 คน ให้ระบุด้วยว่าใคร คือ ผู้ประสานงานหลัก (Corresponding Author)

3. บทคัดย่อ (Abstract): หัวข้อบทคัดย่อให้ใช้ตัวอักษร TH Sarabun New ขนาดของตัวอักษร 18 ตัวหนาและชิดซ้าย ส่วนเนื้อความในบทคัดย่อและคำสำคัญให้ใช้ตัวอักษร TH Sarabun New ขนาดของตัวอักษร 16 ตัวธรรมดา หากเป็นบทความภาษาไทยให้เขียนบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หากเป็นบทความภาษาอังกฤษ ให้เขียนบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ (หรืออาจมีบทคัดย่อภาษาไทยด้วยหรือไม่ก็ได้) ทั้งนี้ บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมกันไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ให้จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ มีความยาวประมาณ 250 คำ จะต้องพิมพ์คำสำคัญในบทคัดย่อภาษาไทย และพิมพ์ Keywords ในบทคัดย่อภาษาอังกฤษของบทความเรื่องนั้นด้วยจำนวนไม่เกิน 5 คำ

4. เนื้อหา (Content): หัวข้อให้ใช้ตัวอักษร TH Sarabun New ขนาดของตัวอักษร 18 ตัวหนาและชิดซ้าย ส่วนเนื้อความในแต่ละหัวข้อให้ใช้ตัวอักษร TH Sarabun New ขนาดของตัวอักษร 16 ตัวธรรมดา

5. รูปภาพและตารางประกอบ: ควรมีภาพที่ชัดเจน ถ้าเป็นรูปถ่ายควรมีภาพถ่ายจริงแนบมาด้วย หากเป็นภาพที่คัดลอกมาจากแหล่งอื่นควรเขียนแหล่งอ้างอิงนั้นด้วยตามหลักวิชาการ กรณีรูปภาพให้ใช้คำว่า “ภาพที่” กรณีตารางให้ใช้คำว่า “ตารางที่”

6. เอกสารอ้างอิง (References): การเขียนอ้างอิงให้ใช้ระบบ APA โดยมีเงื่อนไขดังนี้

6.1 เอกสารที่นำมาอ้างอิงต้องมีไม่เกิน 20 รายการ และควรมีอายุไม่เกิน 15 ปี ยกเว้นแนวคิดหรือทฤษฎีที่เกิดมาก่อน 10 ปีและในปัจจุบันยังมีผู้นำมาใช้ อนุโลมให้นำมาใช้อ้างอิงได้

6.2 การอ้างอิงในเนื้อหา ใช้ระบบนามปี [นามสกุล, ปี หรือ นามสกุล (ปี)] และอ้างอิงโดยใช้นามสกุลภาษาอังกฤษเท่านั้น เช่น Yaempoklarng (2012) หรือ (Yaempoklarng, 2012) เป็นต้น ทั้งนี้ หากมีผู้แต่ง 2 คน ให้ใส่นามสกุลทั้งสองคน เช่น Klinkul and Sartnonnut (2009) หรือ (Klinkul and Sartnonnut, 2009) หากมี ผู้แต่งมากกว่า 2 คน ให้ใส่นามสกุลของผู้แต่งคนแรก และตามด้วย “et al.” เช่น Hair et al. (1998) หรือ (Hair et al., 1998) เป็นต้น

6.3 ให้จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ และเรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ เอกสารอ้างอิงฉบับภาษาไทยต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยมีแนวทางดังนี้ (1) ต้องแปลเอกสารอ้างอิงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ โดยยังคงเอกสารอ้างอิงภาษาไทยเดิมไว้ด้วย เขียนจัดเรียงคู่กัน โดยให้เอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษที่แปลขึ้นก่อนและตามด้วยเอกสารอ้างอิงภาษาไทย และเติมคำว่า “(in Thai)” ต่อท้ายเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษที่แปลจากภาษาไทย (2) การเรียงลำดับเอกสารอ้างอิง กรณีเอกสารอ้างอิงที่แปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษให้เรียงลำดับตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ และรายการเอกสารอ้างอิงทุกรายการ หากมีผู้เขียนไม่เกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อให้ครบทุกคน แต่หากมีมากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อทั้ง 6 คน หลังจากคนที่ 6 ให้ตามด้วย “และคณะ” หรือ “et al” ตัวอย่างการแปลเอกสารอ้างอิงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างที่ 1 หนังสือ ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือ. พิมพ์ครั้งที่ (ถ้ามี).สถานที่พิมพ์ (เมือง): สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

Sri sa-ard, B. (1998). Statistical methods for research I. 2nd ed. Bangkok: Suwiriyasan. (in Thai)

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). วิธีการทางสถิติสําหรับการวิจัย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาร.

ตัวอย่างที่ 2 วารสาร ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

Klinkul, K. and Sartnonnut, M. (2009). Study of Critical Success Factors of Continuous Improvement Program in American-style versus Japanese-style Management: Case Studies of Electronics Industry. Journal of Science and Technology, 17(1), 15-30. (in Thai)

กิตติพงศ์ กลิ่นกุล และมณฑลี ศาสนนนัทน์. (2552). การศึกษาปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของกระบวนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในองคก์รที่บริหารแบบอเมริกันและแบบญี่ปุ่น: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 17(1), 15-30.

ตัวอย่างที่ 3 เว็บไซต์ ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ วัน เดือน ปี, จาก: URL.

Phetchaburi Province. (2017). Province information. [Online]. Retrieved January 17, 2017, from: https://www.phetchaburi.go.th (in Thai)

จังหวัดเพชรบุรี. (2560). ข้อมูลจังหวัด [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2560 จาก: https://www.phetchaburi.go.th/

ตัวอย่างที่ 4 รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ (ชื่อเอกสาร), วัน เดือน ปี สถานที่จัด, หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

Sorntanong, M. (2018). Guidelines for Tourism Management by Identity and Community in the Cultural Tourism of Elephant’s Village Pa-Nied Luang at Pranakorn Sri Ayutthaya Province. The Proceedings of the 13th National and International Sripatum University Conference (SPUCON2018), 20 December 2018 at Sripatum University (Bangkhen Campus), 2112-2122. (in Thai)

มานะศิลป์ ศรทนงค์. (2561). “แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์และวิถีชุมชนในเขตพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในหมู่บ้านช้างเพนียดหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.” รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 13 ประจำปี 2561, วันที่ 20 ธันวาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2112-2122.

ตัวอย่างที่ 5 วิทยานิพนธ์ ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับปริญญาของวิทยานิพนธ์, ชื่อมหาวิทยาลัย.

Thepsuporn, P. (2006). A study of the success of continuous improvement by Kaizen: A Case study of Sony Technology Co., Ltd. Thesis of the Degree of Master of Business Administration Program in General Management. Patumthani: Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (in Thai)

ภูวนาท เทพศุภร. (2549). ศึกษาความสำเร็จของการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่องด้วยวิธี Kaizen กรณีศึกษา บริษัท โซนี่ เทคโนโลยี จำกัด. ปทุมธานี: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

7. บทความทุกเรื่องที่ส่งให้กองบรรณาธิการพิจารณา ต้องไม่ได้รับการเผยแพร่ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเผยแพร่ของวารสารอื่น ๆ

  

การส่งต้นฉบับบทความ (Manuscript Submission)

ผู้แต่งส่งต้นฉบับบทความ (Manuscript) ที่จัดเตรียมตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับและตามรูปแบบการอ้างอิงที่วารสารกำหนด (นามสกุล .docx) และส่งผ่านระบบ ThaiJo โดยให้ผู้เขียนเข้าไปลงทะเบียนและทำตามขั้นตอนของระบบ โดยสามารถเข้าไปดำเนินการได้ที่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim

 

นโยบายและเงื่อนไขในการพิจารณาบทความ (Editorial Policy)

ทางวารสารขอให้รายละเอียดด้านนโยบายของกองบรรณาธิการและขั้นตอนสำคัญเพื่อความชัดเจนและการช่วยเหลือผู้แต่งตลอดกระบวนการส่งผลงานตีพิมพ์ดังต่อไปนี้

1. บริบทของบทความและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ต้องมีความเกี่ยวข้องกับบริบทและสาขาวิชาที่วารสารกำหนด ประกอบด้วย (1) ธุรกิจทั่วไป การจัดการและการบัญชี (2) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (3) การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (4) พฤติกรรมองค์การและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (5) การจัดการการท่องเที่ยว การพักผ่อน และการบริการ โดยบทความของผู้แต่งจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของทางวารสารจึงจะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์

2. ข้อกำหนดด้านความใหม่ของบทความ

ทางวารสารจะรับเฉพาะบทความต้นฉบับที่ไม่ได้ตีพิมพ์โดยวารสารอื่นและต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น

3. การประเมินคุณภาพและการดำเนินการตีพิมพ์บทความ

บทความที่ส่งมาจะได้รับการประเมินคุณภาพและความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสารจากกองบรรณาธิการก่อน โดยการพิจารณาแยกเป็น 2 กรณี คือ

3.1 การปฏิเสธการพิจารณา: หากบทความของผู้แต่งไม่ตรงตามเกณฑ์เบื้องต้นในด้านคุณภาพและความสอดคล้องของวารสาร ผู้แต่งจะได้รับแจ้งผลการปฏิเสธการรับตีพิมพ์บทความ (Reject) โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ และอาจมีข้อเสนอแนะ เหตุผลในการปฏิเสธ หรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

3.2 การตอบรับเพื่อพิจารณา: หากบทความของผู้แต่งผ่านการพิจารณาคัดกรองเบื้องต้น ผู้แต่งจะต้องเสียค่าธรรมเนียมดำเนินการ (Operation Fee) ในอัตรา 4,000 บาท (5,000 บาท สำหรับบทความภาษาอังกฤษ) จากนั้นบทความนี้จะต้องผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบ Double-Blind Peer Review อย่างเข้มงวดโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน (Peer reviewers) ในสาขาที่สอดคล้อง โดยผู้แต่งจะต้องชำระเงินด้วยการโอนเงินผ่านธนาคารเท่านั้น

4. การดำเนินการหลังการพิจารณาตรวจสอบคุณภาพบทความ

ในการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ บทความอาจได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ทันที (Accept) จากกองบรรณาธิการ หรืออาจถูกคืนให้ผู้แต่งเพื่อการแก้ไขเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง (Major/Minor Revision) หรืออาจแจ้งถูกปฏิเสธการลงตีพิมพ์ (Reject) โดยการตัดสินนี้เกิดขึ้นหลังจากการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญและทีมบรรณาธิการของวารสาร

5. สิทธิในการตีพิมพ์และนโยบายการคืนค่าธรรมเนียมดำเนินการ

กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในดุลยพินิจขั้นสุดท้ายในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร โดยบทความจะถูกเลือกโดยพิจารณาจากประโยชน์ในเชิงวิชาการ การยึดมั่นในหลักเกณฑ์ของทางวารสาร และคุณภาพของบทความโดยรวม

ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมดำเนินการจะไม่สามารถคืนให้กับผู้แต่งได้เมื่อมีการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาแล้ว (ไม่ว่าผลการพิจารณาจะเป็นอย่างไร) รวมถึงกรณีที่บทความไม่ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์

ข้อมูลเพิ่มเติม

Double-Blind Peer Review: เพื่อรักษาความเป็นกลาง ทางวารสารจะไม่เปิดเผยตัวตนผู้แต่งและผู้พิจารณาบทความตลอดกระบวนการพิจารณา เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้แต่งจะได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นกลางและการปฏิบัติอย่างยุติธรรมสำหรับการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์

***การส่งบทความมาให้ทางวารสารพิจารณาถือว่าผู้แต่งรับทราบและยอมรับเงื่อนไขเหล่านี้ ซึ่งออกแบบมาเพื่อรักษาคุณภาพและมาตรฐานของวารสาร ขอขอบคุณผู้แต่งที่ให้ความมั่นใจในวารสารสำหรับการเผยแพร่งานวิจัยและผลงานทางวิชาการ***

 

ค่าธรรมเนียมวารสาร

ชำระค่าธรรมเนียมวารสารฯ 

- บทความภาษาไทย  ค่าธรรมเนียม 4,000 บาท

- บทความภาษาอังกฤษ ค่าธรรมเนียม 5,000 บาท

โดยใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารและส่งสลิปเงินโอนพร้อมเขียนคำร้องการชำระค่าธรรมเนียมวารสารฯ มาที่กองบรรณาธิการ วารสารนวัตกรรมและการจัดการ ผ่านช่องทางอีเมล journalcim@ssru.ac.th 

บัญชี: ธนาคารกรุงไทย สาขาเทเวศน์

ชื่อบัญชี: โครงการบริการวิชาการ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ

เลขที่บัญชี: 070-0-21128-4

 

เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณากลั่นกรองบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะพิจารณาว่าบทความนั้น ๆ ควรได้ลงตีพิมพ์ (Accept) หรือควรจะส่งคืนให้ผู้เขียนแก้ไขเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง (Major/Minor Revision) หรือควรแจ้งปฏิเสธการลงตีพิมพ์ (Reject)

***กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร และจะไม่คืนเงินในกรณีที่บทความไม่ผ่านการพิจารณา ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ***

   เอกสารประกอบ
     แบบฟอร์มบทความ 
     คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ
     คำร้องชำระเงินวารสาร

 

    

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและอีเมลที่ระบุในวารสารจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตีพิมพ์เผยแพร่บทความกับทวางวารสารนวัตกรรมและการจัดการเท่านั้น ทางวารสารจะไม่ส่งข้อมูลให้บุคคลอื่นหรือนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น