การจัดการความเสี่ยงของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรณีศึกษา ภาคบริการในเขตกรุงเทพและปริมณฑล เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนขององค์กร
คำสำคัญ:
การจัดการความเสี่ยง; วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม; ความยั่งยืนขององค์กรบทคัดย่อ
ธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย แต่ต้องเผชิญกับความท้าทายและความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกและภายในองค์กร การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของโอกาสและความรุนแรงของความเสี่ยงธุรกิจประเภทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับการจัดการความเสี่ยง และประสิทธิภาพของการจัดการความเสี่ยง และ เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อความยั่งยืนองค์กร โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคบริการ จำนวน 367 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน คือ สถิติการวิเคราะห์เส้นทางและการวิเคราะห์โครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่าโมเดลความสัมพันธ์ของโอกาสและความรุนแรงของความเสี่ยงธุรกิจประเภทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กับการจัดการความเสี่ยงและประสิทธิภาพของการจัดการความเสี่ยง ด้วยวิธีวิเคราะห์เส้นทาง พบว่า ผลโดยภาพรวมมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจากค่า CFI GFI NFI ที่ได้จากการทดสอบมีค่าเข้าใกล้ 1 ทุกตัวแปร และค่า p-value มีค่าน้อยกว่า 0.05 และ จากการศึกษาการจัดการความเสี่ยงมีรับอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดการความเสี่ยงโดยตรง พบว่ามี ประสิทธิภาพการจัดการความเสี่ยง ได้รับอิทธิพลจากการจัดการความเสี่ยงในทิศทางเดียวกัน โดยมีค่าเท่ากับ 0.77 ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความเสี่ยงพบว่า ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่สุดคือ การทบทวนและการปรับปรุงการดำเนินงาน และค่ารองลงมาคือ การสื่อสารและการรายงาน เป้าหมายผลการดำเนินงาน การกำหนดกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ขององค์กร ตามลำดับ และในปัจจัยมีค่าน้ำหนักที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการความเสี่ยงที่น้อยที่สุดคือการกำกับดูแลและวัฒนธรรมองค์กร
References
จันทนา สาขากรและคณะ. (2557). การควบคุม ภายในและการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ทีพีเอ็นเพรส.
จิรพร สุเมธีประสิทธิ์ และคณะ. (2556). การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: แมคกรอ-ฮิล.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพมหานคร: ออฟเซ็ทครีเอชั่น.
ธนีนุช เร็วการ, ณภัทร ทิพย์ศรี, นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล, และมงคลกร ศรีวิชัย.(2566) อิทธิพลของปัจจัยใจการดําเนินธุรกิจที่มีต่อความเติบโตของธุรกิจSMEsในจังหวัดเชียงราย.วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ,10 (2), 74-94
รณิดา นกไทยเจริญ, สุชาติ ปรักทยานนท์, บุรพร กําบุญ และศิรชญาน์ การะเวก. (2566). รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการเติบโตของธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 6 (1), 246-257
ศิระประภา ศรีวิโรจน์ และลักขณา ลุสวัสดิ์. (2559, มกราคม-เมษายน). ธุรกิจ SMEs ของไทย กับความเสี่ยงด้านต้นทุนในยุคการค้าเสรี อาเซียน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีส เทิร์นเอเชีย, 6 (1), 1-20.
สมยศ อวเกียรติ และสิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง. (2560, ตุลาคม – ธันวาคม). การบริหารความเสี่ยง ที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11 (4), 48-62.
สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). โครงสร้างธุรกิจ SME. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา https://www.smebigdata.com/home
COSO. (2017). Enterprise Risk Management Integrating with Strategy and Performance (Executive Summary).
Cox, Louis Anthony Jr. 2008. "What’s Wrong with Risk Matrices?" Risk Analysis 28(2): 497–512. doi: 10.1111/j.1539-6924.2008.01030.x.
Derici et al. (2007). Kurumsal Risk Yönetimi ve Sayıştay Uygulaması. Sayıştay Dergisi, Sayı:65, 151-172.
Hevesi, G. A. (2005). Standards for Internal Control in New York State Government.
Mehr, R. I., & Hedges, B. A. (1963). Risk Management in the Business Enterprise. Homewood IL, Richard D. Irwin.
Merna, T., and Al-Thani, F. F. (2008). "Corporate Risk Management: An Organizational Perspective." John Wiley & Sons
Meulbroek, L. (2002). The promise and challenge of integrated risk management. Risk Management and Insurance Review, 5(1), 55.
Schroeck, Gerhard (2002). Risk Management and Value Creation in Financial Institutions. Hoboken: John Wiley and Sons.
Treasury, H. M. (2004). The Orange Book Management of Risk- Principles and Concepts. HM Treasury.
U.S. Government Accountability Office (GAO). (2014). Standards for Internal Control in the Federal Government (The Green Book)
Wijaya, Nyoman Surya, and Putu Laksmita Dewi Rahmayanti. (2023). The role of innovation capability in mediation of COVID-19 risk perception and entrepreneurship orientation to business performance. Uncertain Supply Chain Management 11: 227–36. [CrossRef]
World Health Organization. (2023). WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard. Globally, as of 6:21 pm CET, 7 March 2023. Online. Retrieved March 10, 2023. from: https://covid19.who.int/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมและการจัดการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
โปรดดูที่จริยธรรมการตีพิมพ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/Ethics