แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการเตรียมสินค้าเพื่อการขนส่ง กรณีศึกษา บริษัท ซีพีแอ๊กซ์ตร้า จำกัด มหาชน สาขาแม็คโคร ศาลายา

ผู้แต่ง

  • ศศิวิมล ว่องวิไล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • เก็จมณี ต้นวงค์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษากระบวนการจัดเตรียมสินค้าเพื่อการขนส่ง และ 2.เพื่อเสนอแนวทางปรับปรุงกระบวนการจัดเตรียมสินค้าเพื่อการขนส่ง กรณีศึกษา บริษัท ซีพีแอ๊กซ์ตร้า จำกัด มหาชน สาขา แม็คโคร ศาลายา โดยการนำแนวคิดทฤษฏีก้างปลาแสดงถึงปัญหาการเตรียมสินค้าสำหรับการจัดส่งที่พบเจอ จากนั้นนำแนวคิดทฤษฏี 5ส. มาประยุกต์ใช้สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน และแนวคิดทฤษฏีการควบคุมด้วยการมองเห็นในการออกแบบป้ายบอกจำนวนรถเข็นที่สามารถใช้งานพร้อมกับการติดตามสินค้าได้ ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการปฏิบัติงานการจัดเตรียมสินค้าเพื่อการขนส่ง ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน และผลการทดสอบก่อน และหลังปรับปรุงการปฏิบัติงานตามแนวทางการลดความผิดพลาดการปฏิบัติงานในการเตรียมสินค้าสำหรับการจัดส่งในภาพรวมจำนวนครั้งเฉลี่ยการผิดพลาดของการจัดรายการสินค้าลดลงจากเดิม 1.49% เหลือเพียง 0.84% ผลต่างก่อนและหลัง คือ ลดลง 0.65% โดยข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ สถานประกอบการ ห้างร้าน และผู้ที่สนใจสามารนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานให้มากขึ้น โดยการลดความผิดพลาดการปฏิบัติงานในการเตรียมสินค้าสำหรับการจัดส่งได้อย่างเหมาะสมต่อไป

References

กุลรัตน์ สุธาสถิติชัย. (2552). Visual Control. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี.

โกศล ดีศีลธรรม. (2557). การประยุกต์หลักบริหารโรงงานด้วยการมองเห็น. ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม, 21(3).

ธิดารัตน์ พูนณรงค์, นัทนรี ดำรงค์อนุกูล, นนทวัฒน์ ประสงค์, สิรวิชญ์ สุขสุด และอังคณา เผ่าพิบูล(2563). การปรับปรุงผลิตภาพและการเพิ่มผลผลิตด้วยหลักแผนภูมิแสดงเหตุและผล การฝึกอบพนักงานและ 5 ส. กรณีศึกษา: บริษัท กรีนสปอต จำกัด. วารสารวิจัยวิชาการ, 3(3), 89–96. https://doi.org/10.14456/jra.2020.9

บจก.ทีเอฟที ทรานสปอร์ต.(2567, 22 เมษายน ). บริษัทขนส่งสินค้ากับปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการขนส่งสินค้า. http://www.transport4thai.com/

ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร และกฤติยา เกิดผล.(2562). การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(2).

ปุณิกา ชัยศักดิ์ และ ปิยะเนตร นาคสีดี. (2563). การศึกษาการปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานกรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2563 (หน้า 1272-1286):มหาวิทยาลัยรังสิต.

พิชชาภา ห้องสำเริง และชนม์เจริญ แสวงรัตน์. (2563). การลดเวลากรบวนการเบิกจ่ายสินค้าคงคลังและทำความสะอาดห้องพักของโรงแรมวัวลายบูติก. งานสัมมนาทางวิชาการวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการอุตสาหกรรม ครั้งที่ 5 ปี 2563.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2542). คู่มือการดำเนินกิจกรรม 5ส. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

สมเกียรติแกว้จนั ทร์. (2555). ระบบการมองเห็นสำหรับการควบคุมรถขนส่งแบบอิสระ. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สมชัย อัครทิวา. (2549). เทคนิคการควบคุมดูแลด้วยการมอง. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

ว่องวิไล ศ., & ต้นวงค์ เ. (2024). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการเตรียมสินค้าเพื่อการขนส่ง กรณีศึกษา บริษัท ซีพีแอ๊กซ์ตร้า จำกัด มหาชน สาขาแม็คโคร ศาลายา. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 9(2), 70–80. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/article/view/280853