การพัฒนารูปแบบส่งเสริมสุขภาพด้วยการท่องเที่ยววิถีใหม่ของผู้สูงอายุ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบส่งเสริมสุขภาพด้วยการท่องเที่ยววิถีใหม่ของผู้สูงอายุ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี และ 2. ศึกษาผลการใช้รูปแบบส่งเสริมสุขภาพด้วยการท่องเที่ยววิถีใหม่ของผู้สูงอายุเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1) การพัฒนารูปแบบส่งเสริมสุขภาพด้วยการท่องเที่ยววิถีใหม่ของผู้สูงอายุ เมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี และ 2) ผลการใช้รูปแบบส่งเสริมสุขภาพด้วยการท่องเที่ยววิถีใหม่ของผู้สูงอายุ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม โดยตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่า IOC เท่ากับ 0.87 สำหรับสถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t ประชากรเป้าหมายประกอบด้วยผู้สูงอายุ อายุ 60 ปี ขึ้นไป ในโรงเรียนผู้สูงอายุของเมืองพัทยา ซึ่งเป็นผู้มีภาวะเสี่ยงและผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 ชนิด ประกอบด้วย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หัวใจและหลอดเลือด และมะเร็ง จำนวน 33 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบส่งเสริมสุขภาพด้วยการท่องเที่ยววิถีใหม่ของผู้สูงอายุ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สภาพปัญหาและความต้องการ 2) หลักการของรูปแบบ 3) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 4) องค์ประกอบของรูปแบบ 5) กิจกรรมฝึกประสบการณ์เรียนรู้ 6) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า เป็นรูปแบบที่มีคุณภาพที่ดี สามารถนำไปใช้ในการดำเนินการด้านการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อสร้างความรู้ เจตคติและทักษะในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุเพื่อการมีสุขภาพที่ดีต่อไป 2. ผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยน้ำหนัก รอบเอว ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต ลดลงจากก่อนการทดลอง ส่วนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุหลังการใช้รูปแบบอยู่ในระดับดี ความรู้ของการปฏิบัติตามรูปแบบ หลังการทดลองมีคะแนนสูงขึ้น ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อรูปแบบส่งเสริมสุขภาพ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รวมถึงพฤติกรรมการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามรูปแบบส่งเสริมสุขภาพ หลังการใช้รูปแบบเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ผู้สูงอายุมีคะแนนพฤติกรรมเฉลี่ยอยู่ในระดับดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Imoun, S., Mitsungnern, T., & Techa-atik. P. (2015). Effectiveness of a Praying Therapy for Blood Pressure Control of Hypertensive Patients. Journal of Nursing and Therapeutic Care, 33(2), 44-53.
Office of Public Health Administration Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health and Uthai Sudsuk Foundation. (2013). Guidelines for Learning and Practicing 3S. 3A. 1N. to Create Holistic Health. Nonthaburi: Office of Public Health Administration.
Online Manager. (2024). Deep insights into Thai consumers, Revealing 9 hot global trends. Retrieved November 2, 2009, from https://mgronline.com/business/detail/9670000104810
Pattaya City Elderly School. (2024). Pattaya Sang Suk School for the Elderly, Class 1. Retrieved May 17, 2009, from https://thaitgri.org/
Piyaseth. L. (2016). A Model Development to Enhance Buddhism-Oriented Health Conditions for Preventing and Solving Chronic Illness in the Community: A Case Study of Ban Khui Parang, Wang Kuang Sub-District, Prankratai District, Kamphaeng Phet Province. Journal of Health Education, 39(132), 23-34.
Sudsuk, U. et al. (2015). Compilation of Textbooks, Books and Academic Articles in the Series Good Health and the Buddhist Way. Bangkok: Sahamit Printing and Publishing Company Limited.
Sunchatawirul, K. et al. (2022). Effectiveness of the Dharma Way-Thai Way Program on Blood Pressure Control in Hypertensive Patients of Health Zone No.9 Kitpong. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, 16(3), 72-82.
Thai Elderly Research and Development Institute Foundation. (2016). Report on the Situation of the Thai Elderly. Retrieved March 23, 2009, from https://thaitgri.org/
Wasuntarawat, C., Khongsombat, O., Malakul, W., & Danyuthasilpe. C. (2014). Effects of Chanting and Loving-Kindness Sharing on the Elderly Health Promotion. (Research Report). Phitsanulok: Naresuan University.