รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงช่องว่างทางดิจิทัลในสถานศึกษาเอกชน ยุคเปลี่ยนผ่าน

Main Article Content

ปิยวัน เครือนาค
วิรัตน์ มณีพฤกษ์
ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างทางดิจิทัลในสถานศึกษาเอกชนยุคเปลี่ยนผ่าน   2) เพื่อสร้างแบบจำลองสมการโครงสร้างช่องว่างทางดิจิทัล 3) เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงช่องว่างทางดิจิทัล โดยใช้สถิติการวิจัยการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์องค์ประกอบของช่องว่างทางดิจิทัลในสถานศึกษาเอกชนยุคเปลี่ยนผ่าน โดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย (equation) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน


ผลการวิจัย พบว่า 1) จากการวิเคราะห์ช่องว่างทางดิจิทัลในสถานศึกษาเอกชน ผู้วิจัยได้กำหนด 6 องค์ประกอบหลัก และ 30 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์ การมีภาวะผู้นำการบริหารจัดการ การพัฒนาบุคลากร การสร้างวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) แสดงว่า รูปแบบที่พัฒนามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างดี โดยค่าดัชนีต่าง ๆ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เช่น ค่า RMSEA=0.002 และ p-value=0.427 3) ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และการใช้ประโยชน์ของรูปแบบ ได้รับการประเมินในระดับมาก โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การมีภาวะผู้นำ และการสร้างวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลที่ได้คะแนนสูงสุด การวิจัยนี้จึงชี้แนวทางสำคัญในการบริหารจัดการช่องว่างทางดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาเอกชนยุคดิจิทัล

Article Details

How to Cite
เครือนาค ป. ., มณีพฤกษ์ ว. ., & ภูมพงศ์คชศร ภ. . (2025). รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงช่องว่างทางดิจิทัลในสถานศึกษาเอกชน ยุคเปลี่ยนผ่าน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 13(1), 122–135. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/283808
บท
บทความวิจัย

References

Aphakhorn, P. (2020). The Digital Divide: A Thorn in the Side of Online Learning. Retrieved May 3, 2023, from https://www.isranews.org/article/isranews-article/88963-pansak.html

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1989). Advances in Factor Analysis and Structural Equation Models. Massachusetts: ABT Books.

Kaiser, H. F. (1974). An Index of Factorial Simplicity. Psychometrika, 39(1), 31-36.

Laorat, C. (2021). Success Factors for Transforming into a Digital Organization. Journal of Information Science, 39(4), 81-94.

Munmart, J. et al. (2021). The Use of Information Technology for the Administration of Educational Institutions in the Digital Transformation Era. Quality of Life and Law Journal, 17(2), 21-32.

Najampa, T., Somngbandit, A., & Srisopha, Y. (2021). The Development of Educational Management Model in the Digital Era for Secondary School in the Central Region under the Office of the Basic Education Commission. (Doctoral Dissertation). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Office of the Private Education Commission. (2023). Private Education Development Plan 2023 -2027. Bangkok: Policy and Planning Group, Office of the Private Education Commission.

Pansri, T., & Chomtohsuwan, T. (2019). Digital Life Inequality in Thailand. Journal of Demography, 35(2), 44-63.

Phokham, T. (2021). A Model of Pracharath School Management in the Digital Age under the Office of Basic Education Commission. The Journal of Research and Academics, 4(1), 177-188.

Thawinkarn, S. (2021). Digital Leadership. Khon Kaen: Khon Kaen University Learning Center.

TSIS Team. (2020). Sample Size Determination Using a Predefined Table. Retrieved May 3, 2023, from https://www.thetsis.com/post/research-tips-sampling

Yuyeun, J. (2022). A Model for Change Management of Learning Management in Digital Age of Wat Nawong School, Pathumtani Primary Educational Service Area Office 1. Journal of MCU Nakhondhat, 9(7), 165-176.