การจัดการความรู้ทางวิทยาศาสตร์บนฐานระบบนิเวศภูมิปัญญาเชิงพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ระบบนิเวศภูมิปัญญาของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี 2. เพื่อการจัดการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์บนฐานระบบนิเวศภูมิปัญญาเชิงพุทธของชุมชน ในจังหวัดอุทัยธานี และ 3. เพื่อนำเสนอฐานข้อมูลและองค์ความรู้จากระบบนิเวศภูมิปัญญาเชิงพุทธสู่ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 12 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การปฏิบัติการด้วยการจัดเวทีเสวนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมแหล่งเรียนรู้ การเสริมสร้างจิตสำนึกของชุมชนในการจัดการภูมิปัญญา ด้านสมุนไพรในแต่ละพื้นที่ เพื่อสรุปประเด็น รูปแบบ วิธีการ หาแนวทางการส่งเสริม การสร้างจิตสำนึก กิจกรรมในการดำเนินงานจัดการภูมิปัญญา ด้านสมุนไพร จำนวน 1 ครั้ง ผู้เข้าร่วม 61 ท่าน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. การสังเคราะห์องค์ความรู้ระบบนิเวศภูมิปัญญาของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี ชุมชนในจังหวัดอุทัยธานีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและถ่ายทอดภูมิปัญญาเชิงพุทธเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และหัตถกรรม ซึ่งเป็นรากฐานของเศรษฐกิจชุมชน 2. การจัดการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์บนฐานระบบนิเวศภูมิปัญญาเชิงพุทธของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี สมุนไพรเป็นทรัพยากรสำคัญของชุมชนทั้งในด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นผ่านการพูดคุยและการสอน โดยบางชุมชนมีการจดบันทึกข้อมูลสมุนไพรเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา นอกจากนี้ การบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้สมุนไพรอย่างยั่งยืน 3. การนำเสนอฐานข้อมูลและองค์ความรู้จากระบบนิเวศภูมิปัญญาเชิงพุทธสู่ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ การนำเสนอฐานข้อมูลและองค์ความรู้จากระบบนิเวศภูมิปัญญาเชิงพุทธสู่ชุมชนเชิงสร้างสรรค์สามารถสร้างความเข้าใจและการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้เทคโนโลยีและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแพร่องค์ความรู้เชิงสร้างสรรค์เพื่อให้ชุมชนเข้าใจและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่บูรณาการภูมิปัญญากับการศึกษา ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Ngeonsuk, N. (2023). Assistant Village Headwoman of Ban Sap Pa Phlu Mai, Village No. 8, Pa O Sub-District, Lan Sak District, Uthai Thani Province. Interview. September, 23.
Nuanchavee, M. (2023). Village Headman of Ban Sap Pa Phlu Mai, Village No. 8, Pa O Sub-District, Lan Sak District, Uthai Thani Province. Interview. September, 23.
Supunpong, P. et al. (2018). Participative Value Creation to Thai Herbal Products to Promote Thai Health Tourism: A Case Study of Health City in Thailand’s Western Region. (Research Report). Ratchaburi: Muban Chombueng Rajabhat University.
Sutta, Ch., Hongthong, N., Phrakhrusriworapinij, & Phrakhrubaidika Chalermpon Ariyavaṁso. (2018). The Study on the Knowledge of Buddhism and Local Wisdom in Conservation, Use and Benefit Sharing from Community Forests in the Ing Basin, Phayao-Chiang Rai Provinces. (Research Report). Phra Nakhon Si Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Thienthong, Th. (2023). A Local Farmer. Interview. August, 8.
Wongkamjun, S. (2015). Biodiversity Management and Local Wisdom of Community around Hual Kha Khaeng Wildlife Sanctury, Uthai Thani Province. (Research Report). Nakhon Sawan: Nakhon Sawan Rajabhat University.
Yotkamlue, K. (2021). Participation in the Conservation of Local Medicinal Plants in Loei Province: Public Administration Students, Faculty of Humanities and Social Sciences, Loei Rajabhat University, for the Conservation of Plant Genetics under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. (Research Report). Loei: Loei Rajabhat University.