รูปแบบการบริหารจัดการน้ำของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างยั่งยืน

Main Article Content

อนุชิดา แสงอรุณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบเรื่องน้ำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. ศึกษากระบวนการในการบริหารจัดการน้ำของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3. ยกระดับและสร้างเครือข่ายการจัดการน้ำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้อาศัยในชุมชน นักวิชาการด้านน้ำ ผู้แทนภาครัฐ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้การวิเคราะห์โดยวิเคราะห์เชิงพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า 1. สถานการณ์น้ำในอดีตและผลกระทบเรื่องน้ำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่มีหลายปัจจัย ทั้งที่เป็นปัจจัยทางธรรมชาติ และปัจจัยที่เกิดขึ้นจากมาตรการ โดยปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น ฝนตกรุนแรงและต่อเนื่องเป็นเวลานาน ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลุ่ม ทางระบายน้ำอุดตัน ส่วนปัจจัยที่เกิดขึ้นจากมาตรการ เช่น แผนการจัดการน้ำ การใช้ที่ดิน และการบริหารจัดการเพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัยไม่ได้ถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลกระทบทางตรงที่เกิดจากอุทกภัยส่งผลให้น้ำท่วมอาคาร บ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง คนและสัตว์เลี้ยงอาจจะได้รับอันตรายถึงชีวิต ระบบสาธารณูปโภคและระบบสาธารณูปการได้รับความเสียหาย เส้นทางคมนาคมอาจถูกตัดขาดเป็นบางพื้นที่ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและประชาชนได้ร่วมกันวางแนวทางเพื่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การบรรเทาวิกฤติอุทกภัย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ และสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้น 2. ในส่วนของการบริหารจัดการน้ำของชุมชน การวิจัยพบว่ามีการดำเนินการหลายขั้นตอน ได้แก่ การสำรวจและเก็บข้อมูลการใช้น้ำ การวิเคราะห์แนวโน้มปัญหา การกำหนดหลักการบริหารจัดการน้ำ การสร้างคณะกรรมการน้ำชุมชน รวมถึงการฝึกอบรมสมาชิก และการส่งเสริมการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการจัดการน้ำเสียและวางแผนการใช้น้ำในชุมชน 3. การยกระดับการจัดการน้ำในชุมชนใช้เทคนิค 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) ในการลดการใช้น้ำ ใช้น้ำซ้ำ และบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน เพื่อพัฒนาการจัดการน้ำให้ยั่งยืนในพื้นที่ต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Announcement of the Office of the National Water Resources, “The 20-Year Master Plan for Water Resource Management (2018-2037)”. (2019, September 18,). Royal Gazette, Vol. 136, Part (Special) 234 d, pp. 11.

German, L. et al. (2007). Participatory Integrated Watershed Management: Evolution of Concepts and Methods in an Ecoregional Program of the Eastern African Highlands. Agricultural Systems, Elsevier, 94(2), 189-204.

Karnjiradet, Th., Rattanasermpong, M., & Suksamran, S. (2018). A Model of Community Participation in Water Management in Uthai Thani Province according to the Philosophy of Sufficiency Economy. Journal of MCU Peace Studies, 6(2), 537-552.

Kositsakulchai, E. (2004). Estimating Crop Water Use in Large-Scale Irrigation Projects Using Remote Sensing. Bangkok: The Thailand Research Fund.

Maiklad, P. (2007). Resource Management, Integrated Sustainable. (Mimeograph Document). Bangkok: Kasetsart University

Maiklad, P. (2023). Solutions for Thailand's Water Management. Retrieved May 25, 2023, from https://tdri.or.th/water/thaipublica20140309/

Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2014). Agricultural Production Management Based on Agricultural Land Management Approaches. Retrieved May 25, 2023, from https://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER073/GENERAL/DATA0000/00000109.PDF

Nobnob, N. (2011). Guideline of Flood Disaster Mitigation: Case Study of Phranakhon Si Ayutthaya Province. Asian Creative Architecture, Art and Design, 13(2), 25-35.

Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment. (2023). Water Quality Management. Retrieved May 25, 2023, from https://www.pcd.go.th/waters

Pukogkoi, A., & Zumitzavan, V. (2019). Sustainability of Water Management of Local Administration: A Case Study of Banton Prayuen Khon Kaen. Journal of MCU Nakhondhat, 6(10), 5067-5078.