การพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพต้นแบบในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

วรุฬลักษณ์ เลียงมา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการดูแลสุขภาพของวัดและชุมชนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี 2. เพื่อพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพต้นแบบในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และ 3. เพื่อวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพต้นแบบในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี การวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย การการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ จำนวน 19 รูป/คน และการสนทนากลุ่มแบบเจาะจง จำนวน 16 รูป/คน โดยวิธีการใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเตรียมหัวข้อการสนทนากับผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ในการนำไปวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีวิเคราะห์แบบอุปนัย


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาการดูแลสุขภาพของวัดและชุมชนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี พบว่า กิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะตามหลัก 5 ร ที่มีต่อการศึกษาการดูแลสุขภาพของวัดและชุมชนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มีให้เสนอแนะว่า ควรมีการสร้างสวนสาธารณะหรือสนามกีฬาเล็ก ๆ เพื่อให้ผู้คนสามารถออกกำลังกายได้ในพื้นที่ใกล้เคียง และส่งเสริมสุขภาพและการเชื่อมโยงกับชุมชน การเน้นสร้างพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และปฏิบัติโยคะหรือการทำสมาธิเพื่อสนับสนุนสุขภาพจิตในชุมชน ส่งเสริมการจัดค่ายสุขภาพเพื่อส่งเสริมการรักษาสุขภาพและสร้างความร่วมมือในชุมชน การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย นำไปสู่การช่วยส่งเสริมสุขภาพทั้งร่างกายและจิตในชุมชนและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คนในพื้นที่นั้น ๆ อย่างสำคัญ 2) ผลการศึกษาการพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพต้นแบบในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วยทั้งพระสงฆ์ ประชาชนในชุมชน ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีแนวคิดเกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัว ด้วยการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าให้โทษ เช่น เลือกอาหารที่ถูกกับธาตุของคนในครอบครัว และการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ 3) ผลการศึกษาการวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพต้นแบบในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี พบว่า มีแนวทาง 1.ความสะอาดร่มรื่น ส่งเสริมการรักษาสภาพแวดล้อม ลดขยะและมลพิษในชุมชน 2.ความสงบร่มรื่น จัดอบรมสร้างจิตสำนึก โดยมีพระสงฆ์เป็นต้นแบบ 3.สุขภาพร่วมสร้าง ส่งเสริมการแยกขยะเพื่อลดมลพิษและโลกร้อน 4.ศิลปะร่วมจิต ใช้องค์ความรู้สมัยใหม่ในการแก้ปัญหาและปรับตัว 5.ชาวประชาร่วมพัฒนา พัฒนาสุขภาวะด้วยจิตใจที่เป็นบวกและการดูแลสุขภาพครอบครัวเพื่อให้สอดคล้องกับ สุขภาวะองค์รวมของชีวิตจะมีสุขภาวะได้ ต้องบริหารใจให้มีภาวะจิตด้านบวก

Article Details

How to Cite
เลียงมา ว. . (2024). การพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพต้นแบบในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(6), 2523–2534. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281539
บท
บทความวิจัย

References

Anamai Media. (2019). The Ministry of Public Health Adopts the "5Rs Principle" to Establish Health-Promoting Temples and Empower Monks with Health Literacy. Retrieved March 25, 2023, from https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/news131062/

Phramaha Janya Sutthijano. (2001). Buddhism and Holistic Health Care. Nonthaburi: Prachatham.

Ploiplaikaew, S., Roonkasem, N., Pacheu, O., & Pattra, S. (2013). The Self-Health Care Development Model of a Community in Lopburi Province. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 14(1), 61-70.

Prakru Suvithanpatthanabandi. (2014). Model Development of Monk’s Holistic Health Care in Khon Kaen Province through the Network Participation. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University Khon Kaen Campus. Khon Kaen.

Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A. Payutto). (2000). Visakha Bucha: A Gateway to World Civilization. Retrieved April 10, 2023, from https://www.watnyanaves.net/th/book-reading/340/2#340-heading-9

The National Statistical Office. (2018). Revealing the Survey Results on Social, Cultural, and Mental Health Conditions in 2018. Retrieved March 25, 2023, from https://www.nso.go.th/nsoweb/view_content/eNt?set_lang=en