การพัฒนารูปแบบการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อมทางทะเลแบบครบวงจร ในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

สาลินี สมบูรณ์ไพศาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1. ศึกษาปัญหาและผลกระทบทรัพยากรชายฝั่ง 2. พัฒนารูปแบบการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อมทางทะเลแบบครบวงจรอย่างสร้างสรรค์ ในตำบลทรงคนอง อำเภอ        พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และ 3. เสริมสร้างเครือข่ายด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทางทะเลแก่หน่วยงานภาค รัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในจังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัย       แบบผสมผสาน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากเจ้าหน้าที่รัฐ เอกชน และประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อบันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์จากเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาและผลกระทบทรัพยากรชายฝั่งใน ตำบล ทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า 1. มลพิษทางน้ำ: น้ำน้ำเสียจากโรงงาน อุตสาหกรรม และชุมชนถูกปล่อยโดยไม่มีการบำบัดที่เหมาะสม ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล 2. มลพิษทางอากาศ: มีค่า PM 2.5 อยู่ในระดับสูงจากกิจกรรมอุตสาหกรรมและการขนส่ง ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน 3. มลพิษขยะ พบการจัดการขยะ ไม่เป็นระบบ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะไมโครพลาสติกในห่วงโซ่อาหาร 2. การพัฒนารูปแบบการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อมทางทะเลแบบครบวงจรอย่างสร้างสรรค์ ใน ตำบล ทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านกิจกรรมรณรงค์ เช่น Big Cleaning Day และการประกวดสื่อสร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยทุกภาคส่วนร่วมกันวางแผนพัฒนาระดับชุมชน อำเภอ และจังหวัด รวมถึงสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมและแนวทางการบริหารจัดการขยะผ่านโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อีกทั้งยังพัฒนานวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เช่น สถานีวัดระดับน้ำออนไลน์ ระบบแจ้งเตือนมลพิษ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการออกแบบนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ 3. การเสริมสร้างเครือข่ายด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทางทะเลแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต้องอาศัยเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยเน้นการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจชีวภาพ และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน พร้อมทั้งพัฒนากิจกรรมอบรมและสัมมนาให้เหมาะสมกับทุกช่วงวัย ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ละคร ภาพยนตร์ และโฆษณา โดยร่วมมือกับบุคคลที่มีชื่อเสียงเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างครบวงจร สุดท้ายคือการปรับปรุงกฎหมายและมาตรการทางภาษีให้สอดคล้องกับความต้องการของทุกภาคส่วน โดยมีการจัดทำแผนแม่บทด้านสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน อำเภอ และจังหวัดให้เกิดผลในระยะสั้นและระยะยาว

Article Details

How to Cite
สมบูรณ์ไพศาล ส. . (2025). การพัฒนารูปแบบการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อมทางทะเลแบบครบวงจร ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 13(1), 151–166. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281537
บท
บทความวิจัย

References

Bunnag, N. (2022). Singapore Announces a Fivefold Increase in ‘Carbon Tax’ by 2024. Retrieved March 1, 2024, from https://www.sdgmove.com/2022/03/01/singapore-raise-carbon-tax-by-five-fold/

Chareonsilawart, T., & Agmapaisarn, Ch. (2021). A Blue Economy Concept from the Perspectives of Boat Tourism Entrepreneurs in Phuket. Journal of Business Administration and Social Sciences Ramkhamhaeng University, 4(1), 42-59.

Ittapichai, S. (2020). Local Tourism Baan Khun Samut Chin. Pathumthani University Academic Journal, 12(1), 27-38.

Jindarat, S., & Tongsri, P. (2021). Condition Analysis of Marine Resource Management Problems of Local Fisheries Group, Laem Nok Community, Ba Na Sub-District, Mueang District, Pattani Province. In The 2nd National and International Conference on Humanities and Social Sciences (TSU-HUSOiCon 2021): The Role, Importance and Challenges of Humanities and Social Sciences in the Disruptive Society (pp.53-64). Songkhla: Thaksin University.

Pansawi, P. (2021). Factors Affecting Success in Marine and Coastal Resource Management: A Case Study of the Local Fisheries Club in Panare Sub-District, Panare District, Pattani Province. (Master’s Thesis). National Institute of Development Administration (NIDA). Bangkok.

Pueaya, S., Fuangchan, S., Chirinang, P., & Chaisakulkiat, U. (2022). The Development of Plastic Waste Management Model in Samut Prakan Province Based of the Circular Economy. Journal of Academic for Public and Private Management, 4(3), 195-209.

Rungjaroen, Ch., & Wattayakorn, G. (2023). Coastal Community Participation in Reducing Litter at the Chao Phraya River Estuary, Samut Prakan Province. RMUTI Journal Humanities and Social Sciences, 10(1), 1-14.

Sangthong, A. (2022). Reducing Greenhouse Gases through Thailand’s Carbon Tax. Retrieved August 9, 2022, from https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1017747?anf=

Satapoomin, S. (2020). Marine Plastic Waste Management in Thailand: Application from International to National Level (Individual Study). Bangkok: Devawongse Varopakarn Institute of Foreign Affairs (DVIFA).

SDG Move Team. (2021). Germany’s Energy Transition and Lessons Learned for a Just Transition (EP. 13). Retrieved November 16, 2021, from https://www.sdgmove.com/2021/11/16/ sdg-updates-การเปลี่ยนผ่านพลังงา/

Vassanadumrongdee, S. (2023). Plastic Tax in the United Kingdom and Spain: Lessons and Impacts. Retrieved March 9, 2022, from https://www.posttoday.com/post-next/be-greener/691622

Wasuntara, S., & Gnamsanit, S. (2016). Sea Environmental Sustainable Management in Krabi according to the Sufficiency Economy Philosophy. Eau Heritage Journal Social Science and Humanities, 6(2), 281-294.