ของเล่นพื้นบ้าน : ประวัติ คุณค่า และการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติ คุณค่า การผลิตของเล่นพื้นบ้านและการสร้างมูลค่าเพิ่มในวัฒนธรรมล้านนา 2) พัฒนาของเล่นพื้นบ้านเชิงสร้างสรรค์ในวัฒนธรรมล้านนา 3) ส่งเสริมกลไกการตลาดของเล่นพื้นบ้านเชิงสร้างสรรค์ในวัฒนธรรมล้านนา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เป็นแบบสัมภาษณ์ กลุ่มชุมชน ภาครัฐ และนักปราชญ์ชุมชน แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม เป็นแนวคำถามในการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเชิงคุณภาพ ที่สามารถให้คำแนะนำสิ่งที่สร้าง ประดิษฐ์ ของเล่นครอบคลุมตั้งแต่ประวัติ อันทรงคุณค่าทางวัฒนธรรม และสามารถสร้างการเรียนรู้นวัตกรรม มีการพัฒนาให้เกิดการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเนื้อหา
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. ของเล่นพื้นบ้านล้านนาเป็นกิจกรรมนันทนาการที่สะท้อนวัฒนธรรมและความเชื่อของชุมชน มีคุณค่าในการพัฒนาทักษะทางกายและจิตใจ อีกทั้งช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และจินตนาการ โดยเฉพาะของเล่นที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติภายในชุมชน 2. การพัฒนาของเล่นพื้นบ้านใน 3 จังหวัด ได้แก่ ของเล่นคนเลื่อยไม้ จังหวัดเชียงราย, ของเล่นของโหว้ จังหวัดเชียงใหม่, และของเล่นม้า ไม้ไผ่ จังหวัดลำพูน เป็นแนวทางในการสร้างนวัตกรรม เพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจ และขยายโอกาสสู่ตลาด ผ่านการออกแบบที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยใช้วัสดุท้องถิ่นและสร้างแบรนด์ของเล่นชุมชน 3. การส่งเสริมกลไกตลาดของเล่นพื้นบ้านต้องพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพิ่มมาตรฐานคุณภาพ และใช้ช่องทางออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ของเล่นพื้นบ้านล้านนาจึงไม่เพียงเป็นมรดกวัฒนธรรม แต่ยังเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจที่สามารถขยายตัวในระดับสากลได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Boonmee, J., & Boonmee, Th. (2018). The Development of a Training Course on Lanna Folk Toys for Primary School Students. Journal of Education Burapha University, 29(3), 98-112.
Chandakul, M. (2017). Information Seeking and Marketing Factors that Influences the Buying Decision of IQ Toys for Baby and Kids 0-6 Years Old of Consumer in Bangkok (Independent Study). Bangkok University. Bangkok.
Hasuntree, N. (2021). Public Sector Marketing. Retrieved October 6, 2022, from https://elcpg.ssru.ac.th/natnicha_ha/pluginfile.php/26/block_html/content/MPP5607%20%284%29%201_64.pdf
Ittiawatchakul, W. (1983). The Structure of Economic Relations between Thailand and Japan: A Quantitative Dependency Analysis. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.
Kanhasuwan, L. (2004). Scientific Toys and Games. Bangkok: Thai Watana Panich Company Limited.
Khanja, Ph. (2019). The Development of the Farmers Database System in Long-Lablae Durian Market Mechanism, Uttaradit Province. Academic Journal Uttaradit Rajabhat University, 14(1), 1-25.
Natsupa, Ch. (1986). Ban Kap Mueang (Home and City). Bangkok: Samphan Publishing.
Panipat, A. (2022). Principles of Product Design. Retrieved December 20, 2022, from https://www.teachernu.com
Rudolph, M., & Cohen, D.H. (1984). Kindergarten and Early Schooling. New York: Prentice Hall, Inc.
Sermchayut, R. (2020). Promotion Strategy for Community Based Tourism. Journal of Multidisciplinary Academic Research and Development, 2(4), 51-61.
Sudprasert, P. (2018). Local Wisdom in the Utilization and the Value of Arrowroot. (Doctoral Dissertation). Burapha University. Chonburi.
Wannok, Ph., & Chuebandit, S. (2016). Sale Promotion of Punnaphat Development Co., Ltd. (Cooperative Education - Co-op Education). Bangkok: Siam University.