กระบวนการพัฒนาโค้ชสู่การเป็นมืออาชีพโดยพุทธสันติวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้วัตถุประสงค์ของการวิจัยประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ของโค้ช และแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาโค้ชสู่ความเป็นมืออาชีพตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) วิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาโค้ชสู่การเป็นมืออาชีพ และ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาโค้ชสู่การเป็นมืออาชีพโดยหลักพุทธสันติวิธี การวิจัยดำเนินการในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา ร่วมกับการวิจัยเพื่อนำผลสู่การปฏิบัติ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา ผู้เชี่ยวชาญด้านการโค้ช ผู้ที่มีประสบการณ์การโค้ช ผู้นำทางความคิด และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบหลักสูตร รวมทั้งการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยถูกนำไปสังเคราะห์เพื่อพัฒนากระบวนการ โมเดล และหลักสูตร ซึ่งได้รับการทดลองและประเมินผลในเชิงปฏิบัติ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจุบันยังคงมีความคลาดเคลื่อนในความเข้าใจเกี่ยวกับการโค้ชแบบมืออาชีพในสังคม อีกทั้งผู้ประกอบอาชีพโค้ชมีทักษะและมาตรฐานการปฏิบัติที่หลากหลาย และบางส่วนยังขาดความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ 2) การพัฒนาโค้ชสู่ความเป็นมืออาชีพเป็นความจำเป็นทางสังคม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมและความสัมพันธ์ที่รวดเร็ว โค้ชจึงต้องมีศักยภาพในการปรับตัวและทำหน้าที่เป็นที่พึ่งทางสังคม 3) มาตรฐานของสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ เป็นกรอบการพัฒนาที่เหมาะสม เนื่องจากได้รับการยอมรับในระดับสากล 4) หลักธรรมในพุทธศาสนา เช่น อริยสัจ 4 กัลยาณมิตรธรรม ฆราวาสธรรม พรหมวิหาร และโยนิโสมนสิการ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาความสามารถของโค้ช โดยเฉพาะการฝึกสติที่มีความสำคัญยิ่ง และ 5) กระบวนการพัฒนาที่ใช้แนวทางการเรียนรู้แบบ 70:20:10 ของ Center for Creative Leadership (CCL) มีความเหมาะสมในบริบทของการพัฒนาโค้ช
องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัย ได้แก่ 1) กระบวนการพัฒนาโค้ชตามหลักพุทธสันติวิธีเชิงบูรณาการ 2) โมเดล “รู้จริง อิงหลัก เจริญมรรค เจริญธรรม” (J.I.M.I. Model) และ 3) หลักสูตรการพัฒนาที่ผสมผสานระหว่างหลักการโค้ชสากลและหลักพุทธธรรม
ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพของโค้ช และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม อันจะนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางจิตใจและความเป็นอยู่ร่วมกันอย่างสันติในระดับบุคคลและระดับสังคม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Bozer, G., & Jones, R. J. (2018). Understanding the Factors that Determine Workplace Coaching Effectiveness: A Systematic Literature Review. European Journal of Work and Organizational Psychology, 27(3), 342-361.
Cavanagh, M. J., & Spence, G. B. (2013). Mindfulness in Coaching: Philosophy, Psychology, or Just a Useful Skill? In J. Passmore, D. B. Peterson, & T. Freire (Eds.), The Wiley-Blackwell Handbook of the Psychology of Coaching and Mentoring (pp. 112-134). Chichester, West Sussex, England: Wiley-Blackwell.
De Haan, E., Duckworth, A., Birch, D., & Jones, C. (2013). Executive Coaching Outcome Research: the Contribution of Common Factors Such as Relationship, Personality Match, and Self-Efficacy. Consulting Psychology Journal: Practice and Research, 65(1), 40-57.
Grant, A. M. (2017). The Third 'Generation' of Workplace Coaching: Creating a Culture of Quality Conversations. Coaching: An International Journal of Theory, Research, and Practice, 10(1), 37-53.
Grover, S., & Furnham, A. (2016). Coaching as a Developmental Intervention in Organisations: A Systematic Review of Its Effectiveness and the Mechanisms Underlying It. PloS One, 11(7), e0159137.
Hyland, P. D., Lee, R. A., & Mills, M. J. (2015). Mindfulness at Work: A New Approach to Improving Individual and Organizational Performance. Industrial and Organizational Psychology, 8(4), 576-602.
International Coach Federation. (2023). Core Competencies. Retrieved August 15, 2023, from https://coachingfederation.org/core-competencies
Kabat-Zinn, J. (2003). Mindfulness-Based Interventions in Context: Past, Present, and Future. Clinical Psychology: Science and Practice, 10(2), 144-156.
Kanchanathawawat, C. (2022). A Model for Developing Peace Leader Coach Using Buddhist Peaceful Means. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Lombardo, M. M., & Eichinger, R. W. (1996). The Career Architect Development Planner. (1st ed.). Minneapolis, MN: Lominger Limited Inc.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
Mezirow, J. (1991). Transformative Dimensions of Adult Learning. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Phra Thepveti Kriangkrai Buachanat. (2023). Buddhist Dhamma and Social Development. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.
Phramaha Khanchit Saenubol. (2003). The Effects of Buddhist Group Counseling on Life Aspirations of AIDS Patients at Wat Phrabat Nam Phu, Lopburi Province. (Master’s Thesis). Graduate School, Srinakharinwirot University.
Phramaha Kriangkrai Buachan-at. (2003). A Comparative Study of the Doctrine of Kalyanamitta and the Attainment of Enlightenment in Theravada and Mahayana Buddhism. (Master’s Thesis). Graduate School, Mahidol University, Bangkok.
Phramaha Prayoon Dheeravanso. (2003). Buddhist Methods of Counseling. Lecture Handout for Life and Death in Buddhism Course. Phra Nakhon Sri Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Reb, J., Narayanan, J., & Chaturvedi, S. (2014). Leading Mindfully: Two Studies on the Influence of Supervisor Trait Mindfulness on Employee Well-Being and Performance. Mindfulness, 5(1), 36-45.
Srirattanawong, S. (2020). Development of Coaching Model in Business Organizations Based on Buddhist Psychology. Journal of MCU Peace Studies, 8(6), 2037-2052.