สันตินวัตกรรมการสื่อสารสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ

Main Article Content

ขวัญยุุภา หุ่นงาม
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบท และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสันตินวัตกรรมการสื่อสารสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดศาสตร์สมัยใหม่และหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาสันตินวัตกรรมการสื่อสารสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการสันตินวัตกรรมการพัฒนาการสื่อสารสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ ใช้รูปแบบวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการทดลองนำร่อง เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก 13 รูป/คน สนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 รูป/คน ทดลองกลุ่มทนายความ  จำนวน 11 คน วัดผลด้วยแบบประเมินสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสะท้อนความรู้สึกด้วยเทคนิค AAR ใช้สถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยค่า t-test สรุปผล           แบบพรรณนาโวหาร


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพบริบท ปัญหา ความต้องการจำเป็นพบว่า ในปัจจุบัน การสื่อสารสาธารณะของทนายความผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ที่ประชาชนเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว เผชิญปัญหา หลายประการ เช่น การให้ข่าวและสัมภาษณ์ที่ไม่เหมาะสม การใช้คำหยาบคาย การโจมตีทนายฝั่งตรงข้าม และการให้ข้อมูลทางกฎหมายในลักษณะอวดอ้างตนเอง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ขัดต่อมรรยาททนายความและสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับวิชาชีพ 2) แนวคิด ทฤษฎีศาสตร์สมัยใหม่และหลักพุทธสันติวิธี ที่เอื้อต่อการพัฒนาการสื่อสารสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ ได้แก่ (1) แนวคิด ทฤษฎีจริยธรรมการสื่อสาร (2) แนวคิดทฤษฎีการสื่อสารที่มีสติ จากแนวคิด ทฤษฎีตามศาสตร์สมัยใหม่ทางด้านการสื่อสาร เมื่อนำมาบูรณาการกับหลักพุทธสันติวิธี คือ สัปปุริสธรรม 7 สัมมาวาจา วาจาสุภาษิต จะช่วยพัฒนาการสื่อสารสาธารณะของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความให้สื่อสารสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ได้ 3) การสร้างสันตินวัตกรรมการสื่อสารสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ ด้วยการออกแบบหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย (1) รู้สติ (2) รู้จักตน (3) รู้ต่อยอด สื่อสารสร้างสรรค์ไม่ขัดมรรยาททนายความ (4) รู้รับผิดชอบต่อยอดสู่สังคม (5) รู้ปัญญา ใช้สื่อออนไลน์สร้างประโยชน์และคุณค่า (6) รู้การพัฒนา

Article Details

How to Cite
หุ่นงาม ข., & วัฒนะประดิษฐ์ ข. . (2025). สันตินวัตกรรมการสื่อสารสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 13(1), 316–327. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280340
บท
บทความวิจัย

References

Bunkeat, P., & Srikittikul, M. (2017). The Working Spirit of the Legal Profession. Journal of Law, 46(1), 155-174.

Johannesen, R. L., Valde, K. S., & Whedbee, K. W. (2008). Ethics in Human Communication. (6th ed.). United States of America: Waveland Press.

Khaosod. (2023). Neighboring Lawyer Slams Fame-Hungry Lawyer for Making Others Look Bad Good People Don't Do That. Retrieved August 30, 2024, from https://www.youtube.com/watch?v=czzCfUQnALc

Khemglad, C. (2017). A Study of the Process of Environmental Public Communication: A Case Study of the Urban Forest Project by the Thailand Research Fund (TRF). (Master,s Thesis). National Institute of Development Administration. Bangkok.

Kit, T. (2023). Thailand Enters the Era of "Digital City" with 61.2 Million Internet Users. Retrieved August 30, 2024, from https://tonkit360.com/110636

Langer, E. (1989). Mindfulness. (1st ed.). Massachusetts: Da Capo Lifelong Books.

Phra Nattavat Yanapappho (Tangpattamawong). (2021). Gratitude and Ethics of Thai People in the Digital Age. Integrated Social Sciences, 1(3), 38-50.

Phramaha Hansa Dhammahaso (Nithiboonyakorn). (2011). Buddhist Peace Integrating Principles and Tools for Conflict Management. (1sted.) Bangkok: 21 Century Company Limited.