รูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายอุทยานการเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพโดยชุมชน

Main Article Content

ชลิต วงษ์สกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพและศักยภาพของชุมชนในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชน 2. เพื่อพัฒนากระบวนการชุมชนและเครือข่ายในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชน และ 3. เพื่อเสริมสร้างและยกระดับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพสู่พื้นที่เรียนรู้ของชุมชน การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 12 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การปฏิบัติการด้วยการจัดเวทีเสวนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรม กระบวนการสร้างจิตสำนึก การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่เพื่อสรุปประเด็น รูปแบบ วิธีการ หาแนวทางการส่งเสริม การสร้างจิตสำนึก กิจกรรมในการดำเนินงาน จำนวน 1 ครั้ง ผู้เข้าร่วม 61 ท่าน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุมชนทั้ง 3 ชุมชนมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ พืชสมุนไพร และสัตว์ป่า การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน และประชาชน โดยหน่วยงานรัฐมีบทบาทหลักในการให้ความรู้และวางกติกาข้อตกลงร่วมกันในการใช้ทรัพยากรจากป่า เพื่อลดความขัดแย้งและปัญหา  ที่เกิดขึ้น 2. การพัฒนากระบวนการชุมชนและเครือข่ายในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชน พบว่าบทบาทของชุมชนในการดูแลรักษาป่าได้รับการส่งเสริมผ่านการสร้างเครือข่ายภาคประชาชน กระบวนการทำงานร่วมกันของเครือข่ายเพิ่มความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการปรับเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดการตัวเอง การขยายกลุ่มองค์กรชุมชนไปยังเครือข่ายอื่น ๆ จนถึงระดับจังหวัดและประเทศช่วยสร้างโอกาสและศักยภาพให้กับชุมชน การดำเนินการดังกล่าวรวมถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการ การตั้งกติกา การประสานงานภาครัฐ การสร้างเครือข่ายในการจัดการ การส่งเสริมการเรียนรู้ การสร้างการมีส่วนร่วม และการส่งเสริมอาชีพคนกับป่า 3. การเสริมสร้างและยกระดับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพสู่พื้นที่เรียนรู้ของชุมชน เกิดจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างและยกระดับความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชน กิจกรรมเหล่านี้รวมถึงการกำหนดหลักสูตรท้องถิ่น การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการ การสร้างจิตสำนึกและการอนุรักษ์ การมีส่วนร่วม การป้องกันรักษาป่า และการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ของชุมชน การดำเนินงานตามขั้นตอนเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความยั่งยืนในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพโดยชุมชน

Article Details

How to Cite
วงษ์สกุล ช. . (2024). รูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายอุทยานการเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพโดยชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(4), 1570–1586. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/279700
บท
บทความวิจัย

References

Aphainut, T. (2023). Village Headman, Moo 10 of Ban Kao Mai Non, Pa-O Subdistrict, Lan Sak District, Uthai Thani Province. Interview. July, 9.

Chaiprasat, P., Sujipuli, K., & Sroypatkasam, P. (2016). Biodiversity and Conservation of Medicinal Plants at Educational Nature Trails in Bhumibhol Dam, Tak Province. (Report Research). Phitsanulok: Naresuan University.

Duanglamphan, Ch. et al. (2013). Green Space Development with the Concept of Eco-Town: A Case Study of Maejo Municipality, Sansai District, Chiang Mai. The 2nd Academic Conference and Presentation of Research Network on Forest Environmental Science in Thailand: Ecological Knowledge for Restoration (pp.384-395). Chiang Mai: Maejo University.

Junsontima, K., & Intachaiwong, O. (2016). Management for Participation in Natural Resource by Balance and Sustainability Case Study: Community Ban Khlonghuaiwai, Mae Poen, Nakhon Sawan. Journal of Thai Ombudsman, 9(1), 58-79.

Lorprakansit, P. (2023). “Wild Rabbits, Although Small and Cute, Actually Have Fierce and Bold Personalities!”. Retrieved August 9, 2023, from https://www.seub.or.th/bloging/knowledge/2023-19/

Nakbut, S. (2023). Officers of the Forest Protection and Development Unit at O.N.8 (Ban Km. 53), Ra Bam Sub-District, Lan Sak District, Uthai Thani Province. Interview. July, 9.

National Park Wildlife and Plant Conservation Department. (n.d.). Mae Wong National Park. Retrieved August 26, 2023, from https://www.dnp.go.th/nprd/project/maevong.php

Office of the National Economic and Social Development Council. (2016). The National Economic and Social Development Plan of Thailand (2017-2021). Retrieved August 9, 2023, from https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

Open Development Thailand. (2017). Natural Resources and Environment. Retrieved July 20, 2023, from https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/topics/environment-and-natural-resources/

Prasansong, A. (2023). Community Forestry of Ban Kao Mai Non, Pa-O Sub-District, Lan Sak District, Uthai Thani Province. Interview. July, 9.

Rittidech, S. (2023). Itellectuals of Ban Kao Mai Non, Pa-O Sub-District, Lan Sak District, Uthai Thani Province. Interview. July, 9.

Sakunee, S. (2023). Officer, Substation 2, Sub Pa Phlu, Moo. 8 Pa-O subdistrict, Lan Sak district, Uthai Thani Province. Interview. July, 9.

Sonloy, N. (1999). Guidelines for Managing Green Spaces in Bang Kachao under the Metropolitan Park Project in Phra Pradaeng District, Samut Prakan Province. (Master’s Thesis). Mahidol University. Nakhon Pathom.

Sueb Nakasathien Foundation. (2018). Serow Found in Thailand, their Habitat Distribution, and Some Behaviors. Retrieved August 9, 2023, from https://www.seub.or.th/seub/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97/

Sukwat, S., Thiengkamol, N., Navanugraha, C., & Thiengkamol, C. (2012). Development of Prototype of Young Buddhist Environmental Education. Journal of the Social Sciences, 7(1), 56-60.

Thiengkamol, N. K. (2011). Holistically Integrative Research. (2nd ed.). Bangkok: Chula Press.

Viruhpintu, S., Khwanboon, T., & Yoelao, W. (2016). Biodiversity of Avian and Wildlife for Ecotourism: A case Study of Chom Phu Sub-District, Noen Maprang District, Phitsanulok Province. Proceedings of the 3rd National Meeting on Biodiversity Management in Thailand: “Biological and Cultural Diversity: Living in Harmony” (pp. 23-39). Pathum Thani: National Science and Technology Development Agency: NSTDA-Thailand.

Wanlayangkoon, M. (2014). Corporate Social Responsibility Communication Strategy of Bank for Agriculture and Agricultural Cooperative. (Master’s Thesis). National Institute of Development Administration. Bangkok.

Wongkul, P. (1999). Creating a New Society: Community Democracy-Dhammacracy. Bangkok: Witheetasana Publishing.

Yasai, U., & Tangkittipaporn, J. (2014). Efficiency, Problems, and Guidelines for Sustainable Development of Green Spaces in Chiang Mai Municipality. (Master’s Thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai.